การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้มิเคยได้ถูกตีพิมพ์หรือไม่ได้ถูกนำส่งเข้ากระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ที่แหล่งอื่นมาก่อน (หรือได้มีการระบุให้กองบรรณาธิการทราบแล้ว)
  • ไฟล์บทความอยู่ในรูปแบบ Microsoft Word
  • มีการเขียนลิงก์ URL ในเอกสารอ้างอิง

คำแนะนำผู้แต่ง

ขั้นตอนการดำเนินการลงบทความในวารสารสุทธิปริทัศน์

  1. ผู้ส่งบทความส่งบทความผ่านทางระบบจัดการวารสารออนไลน์ ThaiJo
  2. บรรณาธิการได้รับต้นฉบับบทความ และพิจารณาว่าสมควรรับบทความพิจารณาหรือไม่ โดยพิจารณาว่าผู้ส่งบทความดำเนินการตามนโยบายการจัดพิมพ์ และแนวทางการจัดเตรียมบทความ ถ้าบรรณาธิการรับบทความไว้พิจารณา กองการจัดการวารสารจะแจ้งผลไปยังผู้ส่งบทความเพื่อชำระเงินค่าจัดการลงบทความ
  3. ผู้ส่งบทความส่งแบบฟอร์มเสนอลงบทความ พร้อมหลักฐานการชำระเงิน ค่าจัดการลงบทความตามอัตราที่แจ้งไว้ข้างต้น ผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ THAIJO
  4. กองการจัดการวารสารตรวจสอบการชำระเงินและส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ทั้งนี้กองการจัดการวารสารจะแจ้งผลการประเมินบทความภายใน 4-6 สัปดาห์ หากได้รับผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ถ้าบทความนั้นมีการประเมินรอบที่ 2 จากผู้ทรงคุณวุฒิ กองการจัดการวารสารจำเป็นต้องขยายเวลาการแจ้งผลออกไปอีก
  5. ผู้ส่งบทความจะได้รับจดหมายตอบรับการตีพิมพ์หลังจากบรรณาธิการได้รับทราบผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ส่งบทความแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และตามแนวทางการจัดเตรียมบทความโดยผู้ส่งบทความต้องแก้ไขบทความ และส่งกลับมายังกองจัดการวารสารผ่านระบบจัดการวารสารออนไลน์ ThaiJo
  6. วารสารจะส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์และใบเสร็จค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความให้แก่ผู้ส่งบทความทางไปรษณีย์ แต่ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทางกองการจัดการวารสารฯ จะจัดส่งจดหมายแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์พร้อมใบเสร็จชำระเงินค่าจัดการลงบทความไปทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้ส่งบทความ

หมายเหตุ

  • หากบทความนั้นได้ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการปฏิเสธให้ตีพิมพ์เผยแพร่ ทางกองบรรณาธิการวารสารสุทธิปริทัศน์ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าจัดการลงบทความให้แก่ผู้ส่งบทความ
  • หากถ้าบทความของผู้ส่งอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว แต่ผู้ส่งบทความขอยกเลิกการลงบทความนั้น ทางกองการจัดการวารสารขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าจัดการลงบทความให้แก่ผู้ส่งบทความไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น                                                       

กระบวนการคัดเลือกบทความ ค่าธรรมเนียม การเตรียมต้นฉบับ          

วารสารสุทธิปริทัศน์จัดให้มีกระบวนการในการคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพตามวิธี Double–Blinded Peer Review Process ซึ่งมีกระบวนการดังต่อไปนี้

  • บทความที่ส่งเข้ามาจะผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ และถูกส่งไปยังผู้ชำนาญการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ในสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อเป็นผู้อ่านประเมินบทความ (Peer Review) จำนวนอย่างน้อย 3 คน จากหลากหลายสถาบัน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านประเมินบทความ และเป็นผู้ให้ความเห็นและข้อแนะนำว่าบทความนั้น ๆ สมควรจะได้รับการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข หรือยอมรับโดยมีเงื่อนไขให้แก้ไข และนำส่งผลประเมินภายใน 4-6 สัปดาห์ ผู้เขียนจะต้องทำการแก้ไขและนำส่งบทความที่แก้ไขนั้นอีกครั้งภายใน 15 วัน หลังจากได้รับผลการประเมิน (มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์จะตีพิมพ์)
  • ในกรณีบทความที่แก้ไขแล้วจากผลประเมินแบบ major revision ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าบทความที่แก้ไขแล้วดังกล่าวเป็นที่ยอมรับเพื่อการตีพิมพ์ได้
  • กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่จะตอบรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากปรากฎมีความไม่สอดคล้องของผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน
  • บทความสามารถจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น และผ่านการตรวจพิสูจน์อักษรเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อความและการพิมพ์
  • ในการณีที่เป็นภาษาอังกฤษ บทความดังกล่าวต้องผ่านการตรวจการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยผู้ชำนาญมาแล้ว
  • นอกจากนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฎิเสธการตีพิมพ์หากค้นพบว่าบทความได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งอื่นมาก่อนแล้ว หรือเป็นการลอกเลียนมาจากแหล่งอื่น หรือเข้าข่าย Plagiarism ตามหลักสากล
  • บทความทุกชิ้นจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธ์ที่จะปฏิเสธไม่รับบทความหรือผลงาน ไม่ว่าจะเป็นบทความรับเชิญหรือในกรณีอื่น
  • ทุกบทความที่ได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อพิมพ์เผยแพร่จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์
  • กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายในระยะเวลา 6-8 สัปดาห์ หากได้รับผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตรงตามกำหนดเวลา
  • กองบรรณาธิการไม่รับผิดชอบข้อผิดพลาดในบทความ ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้เขียน
  • ในการจัดทำบทความผู้เขียนจะต้องจัดทำบทความในรูปแบบที่ทางวารสารสุทธิปริทัศน์กำหนดไว้ โดยสามารถดาวน์โหลดรูปแบบและส่งบทความผ่านระบบ Online Submission ได้ทางเว็บไซต์ของวารสาร  click
  • หากบรรณาธิการรับบทความไว้พิจารณา ทางกองการจัดการวารสารจะแจ้งผลไปที่ผู้เขียนเพื่อชำระเงินเป็น ค่าจัดการลงบทความในอัตรา 5,000 บาท 
  • เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนสามารถ Download วารสารเรื่องนั้น ๆ ในฉบับที่บทความนั้นตีพิมพ์ได้จากเว็บไซต์ของวารสาร

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

รูปแบบการพิมพ์บทความ หลดรูปแบบบทความ (Download)

บทความต้นฉบับจะต้องทำส่งมาในรูปแบบดังต่อไปนี้

ขนาดกระดาษ จัดพิมพ์ลงโปรแกรม Microsoft Word กระดาษ A4

  • ขอบกระดาษ เว้นระยะ 1 นิ้ว ทุกด้าน
  • การตั้งค่าระยะบรรทัดให้ใช้ค่าตามปกติ คือ 1 เท่า หรือ 1 Single
  • จำนวนหน้า ไม่เกิน 12 หน้า ขนาดกระดาษ A4 (รวม ชื่อเรื่อง รูปและตารางที่เกี่ยวข้อง รายการอ้างอิงและภาคผนวก) หากมีจำนวนหน้าเกินกว่านั้น หลังทำการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้อ่านประเมินบทความเสร็จสิ้นแล้ว ผู้เขียนต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับหน้าที่เกิน หน้าละ 300 บาท (อนุญาตให้ไม่เกิน 3 หน้า เท่านั้น)
  • ใส่เลขหน้า กำหนดมุมบนชิดขวา ขนาด 14 point ทุกหน้า
  • ตัวอักษร TH Sarabun ตามหัวข้อที่กำหนดดังนี้

ชื่อเรื่อง (Title)

- ภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 18 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรถัดมาเป็นตัวพิมพ์เล็กหมด ยกเว้น
คำเฉพาะตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่
- ควรให้มีความกระชับให้มากที่สุด

ชื่อ-ที่อยู่และประวัติผู้เขียน (ทุกคน)

ชื่อ-ที่อยู่และประวัติผู้เขียน ภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 14 point กำหนดชิดซ้ายทั้งหมด ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุลผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ชื่อสถาบัน และ E-mail address

บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ต้องผ่านการตรวจพิสูจน์โดยผู้ชำนาญ)

- ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา เว้น 1 บรรทัด
- Text บทคัดย่อภาษาไทย –อังกฤษขนาด 14 point
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
- ความยาวของบทคัดย่อแต่ละภาษาควรอยู่ระหว่าง 200-250 คำและมีเนื้อหาที่ตรงกัน
- ความยาวรวมไม่เกิน 1 หน้า นับรวมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในหน้าเดียวกัน เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและบทสรุปโดยย่อ

คำสำคัญ (Keywords)

- พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อ และอยู่ในหน้าเดียวกันกับบทคัดย่อ ทั้งภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 14 point
- ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานและเป็นคำหลักที่ใช้ในการอ้างอิง ค้นหา ไม่เกิน 5 คำ

เนื้อหา (Body) ประกอบด้วย

- ขนาด 14 point พร้อมเลขหน้ากำหนดมุมบนด้านขวา
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
- บทนำ
- วัตถุประสงค์ (การวิจัย)
- แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (หากเป็นบทความวิจัยต้องมีการนำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย)
- วิธีการดำเนินการวิจัย (หากเป็นบทความวิจัย)
- ผลการวิจัยและอภิปรายผล
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
- รายการอ้างอิง (ใช้รูปแบบ APA Style 7th edition)

การแสดงภาพและรูปภาพ (Figure) ให้พิมพ์คำว่า “ภาพที่...” ตามด้วยลำดับที่ของภาพ 1, 2, 3… ไว้ด้านล่างของภาพหรือรูปนั้นพร้อมชื่อรูปภาพ

การพิมพ์ตาราง (Table) ให้พิมพ์คำว่า “ตารางที่...” ตามด้วยลำดับที่ของตาราง 1, 2, 3… ไว้ด้านบนของตาราง และมีชื่อตาราง

การเขียนรายการอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบ APA Style 7th edition

หมายเหตุ คู่มือการลงรายการอ้างอิง APA 7th edition click

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ