การจัดการบ่อน้ำร้อนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรินท์น่า สิริพุทธิรักษ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์
  • กนกกานต์ แก้วนุช ผู้ช่วยศาสตราจารย์และปริญญาเอก คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบอร์นมัท

คำสำคัญ:

บ่อน้ำร้อน, การจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บ่อน้ำร้อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและสามารถส่งเสริมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ การจัดการบ่อน้ำร้อนที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น งานวิจัยชิ้นนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนของผู้บริหารจัดการบ่อน้ำร้อน และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมจากบ่อน้ำร้อนที่เป็นตัวแทนบ่อน้ำร้อนของประเทศไทยทั้ง 4  แห่ง ได้แก่ บ่อน้ำร้อนพระร่วง อบจ. กำแพงเพชร จ. กำแพงเพชร บ่อน้ำร้อนโป่งร้อน อบต.ใหม่พัฒนา จ.ลำปาง บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู (ละแม) อบต.สวนแตง จ.ชุมพร และบ่อน้ำร้อนหนองหญ้าปล้อง อบจ. เพชรบุรี จ. เพชรบุรี เกี่ยวกับบริบทของการจัดการบ่อน้ำร้อนโดยใช้องค์ประกอบของการจัดการทรัพยากร 6M ซึ่งประกอบด้วย การจัดการด้านบุคลากร การจัดการด้านการเงิน การจัดการด้านการบริหารงานทั่วไป การจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ การจัดการด้านคุณธรรม และการจัดการด้านการให้บริการประชาชน จากการวิเคราะห์พบว่าข้อมูลสามารถนำไปเป็นกระบวนการจัดการบ่อน้ำร้อนที่มีประสิทธิภาพ และควรนำไปประยุกต์ใช้กับบ่อน้ำร้อนในบริบทอื่นของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ในอนาคต

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2549). โครงการการประเมินศักยภาพของน้ำพุร้อนในประเทศไทย.สืบค้น 5 มกราคม 2561, จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/Exe_HT_Th.pdf

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551) รายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการเรื่องมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 5 มกราคม 2561, จาก https://www.dgr.go.th/project_kpn/file/2551-1/09.pdf

กัลย์ธีรา ชุมปัญญา, ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์, และโสภา จำนงค์รัศมี. (2558). ท่องเที่ยวทั่วไทย สร้างรายได้ทั่วถึง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 52(1), 8 – 12.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552).ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้น 5 มกราคม 2561, จากhttps://thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรม/ประเภทกิจกรรมท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ณัฐกฤตา ซีบะ. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ่อน้ำพุร้อนตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา มีภูมิ. (2554). การพัฒนาการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนตรดาว วุฒิอิ่น. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในการใช้บริการน้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

มานัส มหาวงศ์. (2559). องค์ประกอบการจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วินิจ รังผึ้ง. (2550). อาบน้ำแร่แช่น้ำร้อนในเมืองไทย. ผู้จัดการออนไลน์.สืบค้น 1 มกราคม 2561, จาก https://www.manager.co.th/ Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000122728

วีระศักดิ์ อุดมโชค. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์. (2551). การจัดทำแผนและระบบการพัฒนากีฬาเป็นเลิศ: รูปแบบ (Model) การพัฒนากีฬาเป็นเลิศ 4 รูปแบบ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Chen, K.-H., Chang, F.-H., & Wu C. (2013). Investigating the wellness tourism factors in hot spring hotel customer service. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 25(7), 1092–1114. Retrieved from https://doi.org/10.1108/IJCHM-06-2012-0086

Erfurt–Cooper, P., & Cooper, M. (2009). Health and wellness tourism: Spas and hot springs. Bristol, UK: Channel View.

Lee, C. F., Ou, W. M., & Huang, H. I. (2009). A study of destination attractiveness through domestic visitors' perspectives: The case of Taiwan's hot springs tourism sector. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 14 (1), 17-38.

Somphoch, V. (2011). Sustainable health and wellness tourism development of Ban Phon Rang hot spring in Ranong province. Retrieved January 3, 2018, from https:/ proceedings.bu.ac.th/.../apc?...sustainable-health-and-wellness-tourism-d.

Sulistiyono, A. B., Mutmainnah, W., & Furusho, M. (2017). 4M study to support Indonesia's Maritime Tourism Development. TransNav, the International Journal on Marine Navigation and Safety of Sea Transportation, 11 (4), 723-728.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21