การวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี ต่อความภักดีของลูกค้าที่มีต่อสำนักบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลาง

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์ โปรแกรมวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี, ความพึงพอใจในคุณภาพบริการ, ความภักดีของลูกค้า, สำนักงานบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคมและระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีต่อความภักดีของลูกค้าสำนักงานบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลางกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากลูกค้าของสำนักงานบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลางที่ผ่านการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตามเกณฑ์ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดไว้ ตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบมีระบบจากประชากรของสำนักงานบัญชีคุณภาพทั้งหมด 161 แห่งทั่วประเทศไทย และได้สำนักงานบัญชีคุณภาพจำนวน 54 แห่งที่สมัครใจให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมแบบสอบถามจากลูกค้าของสำนักงานเองแห่งละ 12 ราย จึงส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้นจำนวน 648 ราย และได้ตอบกลับมาเป็นฉบับที่สมบูรณ์จำนวน 341 ราย อัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 52.62 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพื้นฐาน และสถิติวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลสมการเชิงโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคมและระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีต่อความภักดีของสำนักงานบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลางหลังจากการปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติ c2/df เท่ากับ 1.676,  GFI เท่ากับ .945, RMR เท่ากับ .023, RMSEA เท่ากับ .045, NFI  เท่ากับ .957, CFI เท่ากับ .982 (2) ปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคม และปัจจัยระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมในทิศทางบวกต่อปัจจัยความพึงพอใจในคุณภาพบริการ และปัจจัยความภักดีของลูกค้าสำนักงานบัญชี โดยส่งผ่านปัจจัยความพึงพอใจในคุณภาพบริการซึ่งเป็นตัวแปรกลาง

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). กุญแจแห่งความสำเร็จสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. เอกสารแนบท้าย ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2558.

กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์. (2555). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม: กลยุทธ์และโอกาสขององค์กรธุรกิจประเทศกำลังพัฒนาในสังคมพลวัต. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2) (กรกฎาคม – ธันวาคม), 83-112.

ชุติมา วุ่นเจริญ. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมกับธุรกิจโรงแรม. วารสารวิทยาการจัดการ, 30(1) (มกราคม – มิถุนายน), 143-158.

เชอะลี่ เส็ง, และกฤช จรินโท. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในอุตสาหกรรมธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ: กรณีศึกษากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39(3) (กรกฎาคม - กันยายน), 85-117.

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข, และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7. (น.950-960). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปาริชาติ หอมเกสร. (2556). ทฤษฎีพื้นฐานและสถานภาพการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคม ในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของ

ประเทศไทย (2541 - 2555). วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์) คณะภาษาและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิทยา จารุพงศ์โสภณ, สุชาติ ไตรภพสกุล, และวิเลิศ ภูริวัชร. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการบริการร้านค้าปลีกต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(4) (ตุลาคม-ธันวาคม), 126-148.

สภาวิชาชีพนักบัญชี. (2561). คำถามที่พบบ่อย. สืบค้นวันที่ 5 พ.ค. 2561, จาก www.fap.or.th/images/column_1398146642/FAQTSQC1.pdf.

สุภาพร ดอกไม้ทอง, และวรวิทย์ เพ็ชรรื่น. (2560). ศักยภาพของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนล่างสำหรับการเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(1) (มกราคม-มีนาคม), 122 – 131.

สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2560). ปัจจัยของมาตรฐานการควบคุมคุณภาพที่มีต่อความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. สมาคมนักวิจัย, 22(2) (พฤษภาคม-สิงหาคม), 52-64.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศิมาภรณ์ สิทธิชัย, และ สิญาธร ขุนอ่อน. (2558). การวัดความภักดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจโรงแรม. วารสารนักบริหาร, 35 (1) (มกราคม-มิถุนายน), 64 - 74.

อาณัติ ลีมัคเดช. (2556). การส่งสัญญาณด้วยรางวัลรับผิดชอบต่อสังคม: กรณีศึกษาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 36(139) (กรกฎาคม - กันยายน), 27-42.

Caruana, A. (2002). Service loyalty the effects of service quality and the mediating role of customer satisfaction. European Journal of Marketing, 36(7/8), 811 – 828.

Ivanauskiene, N., & Auruskevicien, V. (2009). Loyalty programs challenges in retail banking industry. Economics & Management, 14, 407-412.

Jin, N., Lee, S., & Lee, H. (2015). The effect of experience quality on perceive value, satisfaction, image and behavioral intention of water park patrons: new versus repeat visitors. International Journal of Tourism Research, 17, 82-95.

Matten, D., & Moon, J. (2008). “Implicit” and “explicit” CSR: A conceptual framework for a comparative understanding of corporate social responsibility. Academy of Management Review, 33(2), 404-424.

Parasuraman, A., Berry, L. L., & Zeithaml, V. A. (1988). SERVQUAL: a multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Plungpongpan, J., Tiangsoongnern, L., & Speece, M. (2016). University social responsibility and brand image of private universities in Bangkok. International Journal of Educational Management, 30(4), 571-591.

Rai, A.K., & Srivastava, M. (2012). Customer loyalty attributes: a perspective. NMIMS Management Review, XXII, 49-76.

Rundle-Thiele, S. (2005). Exploring loyal qualities: assessing survey-based loyalty measures. Journal of Services Marketing, 19/7, 492-500.

Tsai, M., Tsai, C., & Chang, H. (2010). The effect of customer value, customer satisfaction, and switching costs on customer loyalty: An empirical study of hypermarkets in Taiwan. Social Behavior and Personality, 38(6), 729-740.

Valenzuela, L. M., Mulki, J. P., & Jaramillo, J. F. (2010). Impact of customer orientation, inducements and ethics on loyalty to firm: Customers’ perpective. Journal of Business Ethics, 93, 277-291.

Yoon, Y., & Uysal, M. (2005). An examination of the effects of motivation and satisfaction on destination loyalty: A structural model. Tourism Management, 26, 45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24