ความสามารถของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 (TSQC1) ด้านการติดตามผล
คำสำคัญ:
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1, การติดตามผล, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 (Thai Standard on Quality Control: TSQC1) ด้านการติดตามผล เพื่อประเมินว่านโยบายและวิธีปฏิบัติการควบคุมคุณภาพว่ามีการออกแบบไว้อย่างเพียงพอเหมาะสม และมีการปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ปัจจัยที่นำมาใช้ในการศึกษาคือ ความสามารถผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฏิบัติตาม TSQC1 ด้านการติดตามผล ที่ระบุไว้ในมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ (TSQC 1) เรื่องการควบคุมคุณภาพสำหรับสำนักงานที่ให้บริการด้านการตรวจสอบและการสอบทานงบการเงินและงานให้ความเชื่อมั่นอื่นตลอดจนบริการที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรตาม ลักษณะส่วนบุคคลของผู้สอบบัญชี ประกอบด้วย เพศ อายุ ประสบการณ์ การศึกษา จำนวนลูกค้า และ จำนวนผู้ช่วยผู้สอบบัญชี เป็นตัวแปรอิสระ และเป็นตัวกำหนดความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการติดตามผลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ในการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 864 ราย ได้รับแบบสอบถามกลับจำนวน 260 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.73
ผลจากการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแตกต่างกัน ความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการติดตามผลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแตกต่างกัน โดยพบว่า ข้อกำหนดด้านการติดตามผล ขึ้นอยู่กับ อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงานสอบบัญชี จำนวนลูกค้า และจำนวนผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
References
ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553. (2553, 3 พฤศจิกายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 127ง. หน้า 68-74.
ปภาวี สุขมณี, จุฑามาศ สุนทร, ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์, และ ปาลวี พุฒิกุลสาคร. (2553). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การควบคุมคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีสำหรับสำหรับสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กและขนาดกลาง. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(14), 26-28.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง ข้อกำหนดด้านสมรรถนะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี. กรุงเทพฯ: บ.แอคทีฟปริ้นท์ จำกัด.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต . สืบค้น 18 ธันวาคม 2557, จาก https://eservice.fap.or.th/fap_registration/cpa_contact_list.php.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ผลการตรวจสอบคุณภาพสำนักงานบัญชีโดยรวมปี 2557. สืบค้น 3 มีนาคม 2559, จาก https://www.fap.or.th/images/sub_1359024609 /ผลการตรวจสอบคุณภาพสำนักงานบัญชีโดยรวม ปี 2557.pdf.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). Audit Quality Focus - TSQC1. สืบค้น 3 มีนาคม 2559, จาก https://www.fap.or.th/images/column_1386298498/Fap_News12_spdf?mode=preview.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). ข้อแนะนำสำหรับการดำเนินการตามาตรฐาน TSQC1. สืบค้น 3 มีนาคม 2559, จาก https://www.fap.or.th/images/column_1397118366/TSQC1.pdf.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). การใช้แนวทางปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานคนเดียว. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟปริ้นท์ จำกัด.
สุพรรณา บุญมาวงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีทธิพลต่อการใช้บริการตรวจสอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร (วิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เอกพล คงมา, และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2556). ปัญหาการนำมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 ไปใช้ในงานสอบบัญชี สำหรับสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กและผู้สอบบัญชีอิสระ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 9(26), 32-43.
Burns, R. (1990). Introduction to Research Methods. Melbourne: Longman Chesire.
Gliem, J. A., & Gliem, R. R. (2003). Calculating, interpreting, and reporting Cronbach’s alpha reliability coefficientfor Likert-type scales. Midwest Research to Practice Conference in Adult, Continuing, and Community Education, Retrieved October 6, 2010, from https://hdl.handle. net/1805/344.
Pallant, J. (2001). SPSS survival manual: A step-by-step guide to data analysis. Buckingham: Open University Press.
Wiersma, W. (1991). Research methods in education (5th ed.). Sydney: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น