อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ SETHD

ผู้แต่ง

  • พุฒิกานต์ ชูวิทย์สกุลเลิศ นิสิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ยอดยิ่ง ธนทวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาการเงิน วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อัตราผลตอบแทน, ความเสี่ยง SETHD, กลุ่มหลักทรัพย์คุณค่า, กลุ่มหลักทรัพย์เติบโต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ SET High Dividend 30 Index (SETHD) โดยทำการเปรียบเทียบกับดัชนีราคาหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มหลักทรัพย์คุณค่า และกลุ่มหลักทรัพย์เติบโต ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ SETHD ให้อัตราผลตอบแทนไม่แตกต่างจากดัชนีราคาหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มหลักทรัพย์คุณค่า และกลุ่มหลักทรัพย์เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกสภาวะตลาด เมื่อทำการเปรียบเทียบความเสี่ยง พบว่ากลุ่มหลักทรัพย์ SETHD มีความเสี่ยงสูงกว่าดัชนีราคาหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ในทุกสภาวะตลาดและหลักทรัพย์คุณค่าในสภาวะตลาดปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มหลักทรัพย์ SETHD มีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่มหลักทรัพย์คุณค่าในสภาวะตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เมื่อทำการศึกษาอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงของการลงทุน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มหลักทรัพย์ SETHD ให้อัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่มหลักทรัพย์คุณค่าในสภาวะตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

References

จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2544). การลงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฑาภรณ์ ทวีผลจรูญ. (2557). ศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของกลุ่มหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตภายใต้ภาวะตลาดที่แตกต่างกัน (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2557). หลักการลงทุน. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ดัชนีราคา SET High dividend 30 index. สืบค้น 16 มกราคม 2561, จาก https://www.set.or.th/th/products/index/SETHD.html

ธัชวัสส์ วิพุทธิกุล. (2553). การศึกษาผลตอบแทนจากการจัดกลุ่มการลงทุน ซึ่งจัดแบ่งตามขนาดอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (การค้นคว้าแบบอสิระมหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ริรินดา ชโลธร. (2555). ศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตของหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET 100 (ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาลัยเกษตรศาสตร์.

รวี ลงกานี, อริยพงษ์ พันธ์ศรีวงค์, และเกรียงไกร ก้อนคำ. (2560). ผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39(151), 49-72.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2557). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). การลงทุนในตราสารทุน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อภิญญา บุษราตระกูล. (2554). การศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยใช้แนวทางการลงทุน แบบเน้นคุณค่า และแนวทางการลงทุนแบบเน้นการเติบโต. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 54(9), 40-63.

อลิษา มกราพันธุ์. (2554). ศึกษาเรื่องผลตอบแทนในกลุ่มหลักทรัพย์คุณค่า และหลักทรัพย์เติบโตในตลาดหุ้นไทย (ควบบริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการแบบบูรณาการ และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการเงิน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Conover, M.C., Jensen, G.R., & Simpson, M.W. (2016). What difference do dividends make?. Financial Analysts Journal, 72, 28-40.

Graham, B. (2009). The intelligent investor (Revised Edition). New York: Harper Business.

Sharpe, W. F. (1990). Investments (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21