อิทธิพลของคุณภาพบริการและการบริหารความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ: การศึกษาเชิงประจักษ์ลูกค้าที่ใช้บริการโรงแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วสุธิดา นุริตมนต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ณภัทร ทิพย์ศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, การบริหารความสัมพันธ์, ความตั้งใจใช้บริการซ้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการ การบริหารความสัมพันธ์ที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงแรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา    โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  385  คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  สุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีสะดวก  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  ด้วยวิธี Stepwise ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการบริการ คือ ด้านการเอาใจใส่ ด้านการให้ความมั่นใจ และด้านการตอบสนองมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงแรมใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ส่วนคุณภาพความสัมพันธ์ คือ ด้านการเข้าใจความคาดหวังของลูกค้า ด้านการให้อำนาจ ด้านสัมพันธภาพกับลูกค้า และด้านการสร้างสินค้า/บริการ ให้เฉพาะเจาะจงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงแรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความตั้งใจใช้บริการซ้ำ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจโรงแรม

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2551). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560) ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้น 20 มกราคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9690

ฉงจิ่ง หลี่. (2556). คุณภาพการบริการของบริษัทนำเที่ยวประเทศจีนที่มีผลต่อความความไว้วางใจในบริษัทนำเที่ยว และความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคล (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฐิรชญา มณีเนตร. (2552). ไทยศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐญาดา ฉัตรขาว. (2558). การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และคุณภาพการบริการของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของผู้ปกครอง: กรณีของโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ปิยพงศ์ พู่วณิชย์, และ วิโรจน์ เจษฏาลักษณ์. (2558). อิทธิพลของการกากับดูแลกิจการที่ดีและการรับรู้คุณภาพการบริการของลูกค้าที่มีผลต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสิน. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(1) (มกราคม–มิถุนายน), 78-93

ปรียาภรณ์ หารบุรุษ. (2558). ภาพลักษณ์และคุณภาพการใช้บริการของโรงแรมที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. การค้นคว้าอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาณุ ลิมมานนท์. (2554). กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาริณาส.

มะลิวรรณ ช่องงาม. (2559). ความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อโรงแรมอมารีดอนเมือง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม), 229-237.

วันชัย กิจเรืองโรจน์, และ วิโรจน์ เจษฏาลักษณ์. (2559). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อการตอบรับจากลูกค้าและผลการดำเนินงานของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), (เมษายน-มิถุนายน), 53 - 66.

ศรายุทธ โชคชัยวรรัตน์, ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์, สุรัติ สุพิชญางกูร, และสุธาสิณี สุศิวะ. (2556). คุณภาพการบริการของธุรกิจโรงแรมใน สปป. ลาว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกรณีศึกษา นครหลวงเวียงจันทร์. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 8(1), 67-70.

Aaker, D.A. (1996). Measuring brand equity across products and markets. California Management Review, 38(3), 102-120.

Hellier, P. K., Geursen, G. M., Carr, R. A., & Rickard, J. A. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. European Journal of Marketing, 37 (11/12), 1762-1800.

Lawson-Body, A., & Limayem, M. (2004). The impact of customer relationship management on customer loyalty: The moderating role of website characteristics. Journal of Computer- Mediated Communication, 9(4),1-20.

Martin, W.B. (1995). Quality customer service for front line staff. (reprinted). Menlo Park, CA: Crisp Publication, Inc.

Narayandas, D. (1998). Measuring and managing the benefits of customer retention. Journal of Service Research, (12), 162-169.

Parasuraman, A., Berry, L. L., & Zeithaml, V. A. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.

Oliver, R. L. (1999). When consumer loyalty. Journal of Marketing, 63, 33-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21