การพัฒนาแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แบบวัดเจตคติ, การเรียนวิทยาศาสตร์, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 115 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย อำนาจจำแนก ความเที่ยงและความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดประเภทลิเคิร์ตสเกล 5 ระดับ ภายหลังจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีจำนวน 8 องค์ประกอบย่อยจำนวน 32 ข้อคำถาม ได้แก่ ความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ (3 ข้อคำถาม) ความกระตือรือร้นในการเรียนวิทยาศาสตร์ (6 ข้อคำถาม) การให้ความสำคัญต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ (7 ข้อคำถาม) ความเข้าใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ (4 ข้อคำถาม) ความสนุกสนานในการเรียนวิทยาศาสตร์ (2 ข้อคำถาม) การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ (4 ข้อคำถาม) การจัดสรรเวลาสำหรับการเรียนวิทยาศาสตร์ (3 ข้อคำถาม) ความเอาใจใส่ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ (3 ข้อคำถาม) ผลการตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถามพบว่า ข้อคำถามมีอำนาจจำแนกด้วยการวิเคราะห์สถิติทดสอบที สามารถจำแนกกลุ่มสูงกลุ่มต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ตามวิธี Graded- Response Model มีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า .05 จำนวน 32 ข้อ ผลการตรวจสอบความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .910 โดยมีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยอยู่ตั้งแต่ .693 ถึง .890

References

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, และ ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23, 28–54.

นิภาภรณ์ เชยวัดเกาะ. (2545). ผลของการเรยีนการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาวิทยาศาสตร์ ความคงทนในการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญฤดี แซ่ล้อ. (2545). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรจันทร์ ใจสว่าง, สิริพร จันทวรรณ, และเดชา ศุภพิทยาภรณ์. (2552). การพัฒนาเครื่องมือวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ = Development of attitudes towards science measures. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มรีจิ คงทรัตน์. (2553). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวัณย์ แก้วภูมิแห่. (2544). ผลของการเรียนการสอนแบบโฟร์แม็ทซิสเต็มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aiken, L. R., & Aiken, D. R. (1969). Recent research on attitudes concerning science. Science Education, 53, 295–305

International Study Center, TIMSS. (1999). Trends in mathematics and science achievement around the world. Retrieved from https://timss.bc.edu/timss1999.html

Koballa, T.R. (1988). Attitude and related concepts in science education. Science Education, 72, 115–126.

Laforgia, J. (1988). The affective domain related to science education and its evaluation. Science Education, 72, 407–421.

Ministry of Education, Govt. of Pakistan. (2009). Educational policy 2009. Retrieved from https://www.moe.gov.pk

Mullis, I. V. S., Martin, M. O., Gonzalez, E. J., Gregory, K. D., Garden, R. A., & O’Connor, K. M. (2000). TIMSS 1999 international mathematics report: Findings from IEA’s repeat of the third international mathematics and science study at the eighth grade. Chestnut Hill, MA: TIMSS & PIRLS International Study Center, Boston College.

Norwich, B., & Duncan, J. (1990). Attitudes, subjective norm, perceived preventive factors, intentions and learning science: Testing a modified theory of reasoned action. British Journal of Educational Psychology, 60, 312–321.

Osborne, J., Simon, S., & Collins, S. (2003). Attitudes towards science: A review of the literature and its implications. International Journal of Science Education, 25(9), 1049–1079,

Shah, Z. A., & Mahmood, N. (2011). Developing a scale to measure attitude towards science learning among school students. Bulletin of Education and Research, 33, 71–81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30