การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีผลประเมินต่ำกว่ามาตรฐาน
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, จิตสำนึกในการบริการ, การสร้างความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ที่มีผลประเมินต่ำกว่ามาตรฐานและศึกษาประสิทธิผลจากการประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือประชากรที่มีผลประเมินต่ำกว่ามาตรฐานทั้งหมดจำนวน 50 คน เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอนได้แก่ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรฉบับร่างการทดลองใช้หลักสูตรกลุ่มตัวอย่างจากการรายงานของหัวหน้างานและการประเมินประสิทธิผลและการปรับปรุงหลักสูตรจากการดำเนินการวิจัยทำให้ได้หลักสูตรที่ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านความรู้กับทักษะในการทำงาน และการประยุกต์ใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักสูตรนี้เน้นหลักการ 3 S คือ Safety Security และService รวมถึงมีความตระหนักถึงการมีทัศนคติด้านบวก จิตสำนึกในการบริการและวางแผนพัฒนาตนเองในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการให้คำปรึกษาในเรื่องการสร้างความสุขในการทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับการทำงาน การสร้างกำลังใจและแรงจูงใจ การปรับปรุงบุคลิกภาพการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารเชิงบวก รวมถึงแนวทางปฏิบัติตนเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทีดีในด้านต่างๆ ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ได้รับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการให้บริการบนเครื่องบินสูงขึ้น มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านความรู้ ทักษะในการทำงานและการประยุกต์ใช้งานสูงขึ้น และตระหนักถึงการมีทัศนคติด้านบวก และจิตสำนึกในการบริการสูงขึ้น
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2554). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 20). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชาย หาญณรงค์ (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ. วารสารวิชาการ Veridiaian E-Journal, 7(2), 227-237.
ทิชารัตน์ ประดิษฐ์พงศ.์ (2561). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่อย่างยั่งยืนตามแนวคิด Honeybee Leadership (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวพันธ์ ปิยะวรรณกร. (2560). กฎทองครองใจลูกค้า = The Customer Rule งานแปลจาก Lee Cockrell. กรุงเทพฯ: ทัช พับลิเคชั่นส จำกัด.
บาร์เร็ตต์, จิม. (2551). คู่มือทดสอบความถนัด บุคลิกภาพและแรงจูงใจ = Aptitude, personality and motivation tests (รัชนี เอนกพีระศักดิ์, ผู้แปล) (ฉบับปรับปรุง 2019). กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
ฝ่ายบริการบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). (2544). จรรยาบรรณในวิชาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน [จุลสาร]. กรุงเทพฯ: บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน).
พยัต วุฒิรงค์. (2562). สุดยอดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่. กรงุเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พยัต วุฒิรงค์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรงุเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูนเพิ่ม เสรีวิชัยสวัสดิ์. (2558). การใช้รูปแบบขององค์การเสมือนจริงในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(2), 209-225.
ยุวดี เสรีพิทยารัตน์. (2549). รูปแบบการจัดการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับพนักงานศูนย์บริการลูกค้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครปฐม (ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต(พัฒนศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รายงานประจำปี 2561 บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/Viewmore/fs-r562?searchSymbol=THAI
วิทยา ด่านธำรงกุล. (2547). หัวใจการบริการสู่ความสำเร็จ = The Heart of Service. กรงุเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสนธิ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรงุเทพฯ: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด.
Armstrong, M., & Murlis, H. (1998). Reward management: A handbook of remuneration strategy and practice (4th ed.). UK: Kogan Page Publishers.
Eaton, J. (2016). Globalization and human resource management in the airline industry (2nd ed.). USA: Routledge.
Grote, R. C., & Grote, D. (2011). How to be good at performance appraisals: Simple, effective, done right. USA: Harvard Business Press.
Hymer, B., & Gershon, M. (2014). Growth mindset pocketbook. UK: Management Pocketbooks.
Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.
Tyler, R. W. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. United States: The University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น