การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคอวัยวะของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ เกษะประกร ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความรู้และทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะ, ความตั้งใจในการลงทะเบียนแจ้งความจำนงเป็นผู้บริจาคอวัยวะ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการลงทะเบียนแจ้งความจำนงบริจาคอวัยวะของวัยรุ่นไทยหลังร่วมโครงการประกวดแผนรณรงค์บริจาคอวัยวะ “มอบชีวิตใหม่....ร่วมใจบริจาคอวัยวะ” ซึ่งจัดโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2559 ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย เพศ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และความปรารถนาในการบริจาคอวัยวะหลังร่วมโครงการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) จำนวน 84 คน ที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อายุระหว่าง 17-25 ปี ที่ได้ร่วมโครงการประกวดแผนรณรงค์บริจาคอวัยวะจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลวิจัยพบว่า แบบจำลองของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลงทะเบียนแจ้งความจำนงเป็นผู้บริจาคอวัยวะมีความสอดคล้องข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = .506, df = 2, CMIN/DF = .253, P-value = .776, RMSEA = .000, CFI = 1.000) โดยความปรารถนาในการบริจาคอวัยวะหลังร่วมโครงการฯ ของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลทางลบกับทัศนคติสูงสุด (B = -.80**, p < 0.01) รองลงมา พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโครงการฯ ส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจในการลงทะเบียนแจ้งความจำนงเป็นผู้บริจาคอวัยวะ (B = 0.27*, p < 0.05) เพศส่งผลต่อความตั้งใจในการลงทะเบียนแจ้งความจำนงเป็นผู้บริจาคอวัยวะ (B = -.26**, p < 0.01) โดยเพศชายมีความตั้งใจในการบริจาคอวัยวะน้อยกว่าผู้หญิง (r = -.292, p < 0.05) แต่ เพศชายมีทัศนคติทางบวกต่อการบริจาคอวัยวะมากกว่าเพศหญิง (B = 0.13*, p < 0.05) ตามลำดับ ไม่มีปัจจัยใดส่งผลต่อความรู้อย่างมีนัยสำคัญ

References

กิตติ กันภัย. (2543). การสื่อสารชุมชน: แนวคิดหลักเพื่อการพัฒนา. วารสารนิเทศศาสตร์, 18, 61-78.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐ. (2561, 16 มิถุนายน). ชาติหน้ากลัวอวัยวะไม่ครบ? ไขปมเหตุคนไทยไม่บริจาคอวัยวะ กาชาดไทยต้องการไตมากที่สุด. ไทยรัฐ. สืบค้น 27 ธันวาคม 2561, จาก https://www. thairath.co.th/content/1308041

ทรูปลูกปัญญา. (2559). การปลูกถ่ายอวัยวะ. สืบค้น 30 เมษายน 2559, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/60414/-heabod-hea-otherknowledge

ธนัยพัต พงศ์วิวัตน์, สุทธิพร มูลศาสตร,์ และวิศิษฐ์ ฐิตวัฒน์ (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจยัส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติ และการยอมรับการบริจาคอวัยวะของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพดล ทองมั่น. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์และการเปิดรับสื่อที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อเรื่องการบริจาคอวัยวะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้น 1 มกราคม 2562, จาก https://www.thaithesis.org/detail.php?id=60539

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พีระ จิรโสภณ. (2551). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการปรัชญานิเทศศาสตรแ์ละทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รพีพรรณ์ โพธิ์ประทับ. (2557). ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้น 1 มกราคม 2562, จาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45481

ศรันยา จิตชัยโภคา. (2545). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย. (2559). นโยบายและพันธกิจของการบริจาคอวัยวะ. สืบค้น 30 เมษายน 2559, จาก https://www.redcross.or.th/content/page/52

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2540). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรงุเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

สุวิรัช รัตนมณีโชติ. (2536). ความรู้และเจตคติของพยาบาลต่อการบริจาคอวัยวะ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Nevitt, J., & Hancock, G. R. (2004). Evaluating small sample approaches for model test statistics in structural equation modeling. Multivariate Behavioral Research, 39, 439-478.

Roger, E. M., & Floyed, F. S. (1971). Communication of innovations: A cross – cultural approach. NY: Free Press.

Rogers, E. M., & Svenning, L. (1990). Modernization among peasants. NY: Holt, Rinehart & Winston.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation model (3rd ed.). New York: Routlege.

Wilcox, D.L., & Cameron, G.T. (2012). Public relations: Strategies and tactics (10th ed.). IL: Allyn & Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30