ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อโดยฉับพลันของผู้บริโภคขนมขบเคี้ยวในรุ่นเจเนอเรชั่น X, Y และ Z ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พลศักดิ์ ศิริเสตสุวรรณ สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ลีลา เตี้ยงสูงเนิน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การซื้อโดยฉับพลัน, ขนมขบเคี้ยว, ปัจจัยทางการตลาด, เจเนอเรชั่น X, Y และ Z

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมขบเคี้ยวโดยฉับพลันของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขนมขบเคี้ยวโดยฉับพลันของผู้บริโภคในรุ่นเจเนอเรชั่น X, Y และ Z ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคขนมขบเคี้ยวในเจเนอเรชั่น X, Y และ Z ในประเทศไทยจำนวน 624 คน โดยใช้แบบสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางการตลาดทั้งเก้าปัจจัยได้แก่ ปัจจัยตราสินค้า (Brand) ปัจจัยการสื่อสาร (Communication) ปัจจัยคุณสมบัติ (Attribute) ปัจจัยภายในร้านค้า (Consumption environment) ปัจจัยราคา (Price) ปัจจัยการส่งเสริมการขาย (Sales promotion) ปัจจัยบรรจุภัณฑ์ (Package) ปัจจัยพนักงานขาย (Sales interaction) และปัจจัยด้านโภชนาการ (Health/Nutrition conscientious) มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการซื้อโดยฉับพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การกำหนดการซื้อโดยฉับพลันของผู้บริโภคขนมขบเคี้ยว (R-squared) ของสมการโครงสร้างของตัวแปรแฝง และค่าน้ำหนักองค์ประกอบของปัจจัยทางการตลาดของแต่ละเจเนอเรชั่นมีความแตกต่างกัน

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การบริโภคขนมขบเคี้ยว ในงานวิจัยเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรงุเทพฯ: ศูนย์หนังสอืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดับเบิ้ลยูพี (WP). (2560). ทำความเข้าใจจิตวิทยาพฤติกรรมการซื้อเคล็ดลับแบรนด์ชนะใจลูกค้าในยุคไร้ Brand loyalty brand Buffet. สืบค้น 27 มิถุนายน 2561, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/08/the-psychology-of-consumer/

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส.

พรนิภา หาญมะโน. (2558). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่ม Generation B Generation X และ Generation Y ที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(1), 54-73.

มูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยว (สแน็ค) ปี2561. (2562). Positioning mag. สืบค้น 28 สิงหาคม 2562, จาก https://positioningmag.com/1223393

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรงุเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลย์ทุ่ม 80 ล้าน ดันตลาดมันฝรั่งทอดกรอบโตต่อเนื่องส่งนวัตกรรมเลย์คูลลิ่ง ยิ่งกินยิ่งเย็น ชิงแชร์หน้าร้อน. (2562, 28 มีนาคม). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-308461

วรินทรทิพย์ กำลังแพทย์. (2559). การตลาดออนไลน์กับผู้บริโภคยุค XYZ: Online marketing to generation X Y Z consumers. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-17. สืบค้น 26 สิงหาคม 2562, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutphuso/issue/view/10902

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมินและการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส่องตลาด Snack ไทย ศึกขับเคี่ยวของขนมขบเคี้ยว. (2015). Forbes Thailand. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.forbesthailand.com/news-detail.php?did=649

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). Generation Thai & ICT. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศ ยุทธศาสตร์ภาครัฐ.

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. (2551). มัดใจ Gen Y ด้วยดีไซน์โดนๆ. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/brand-marketing/strategy-brand-marketing/gen-y/

Abratt, R., & Goodey, S. D. (1990). Unplanned buying and in-store stimuli in supermarkets. Managerial and Decision Economics, 11(2), 111-121.

Awan, A. G., & Arooj F. (2014). Impact of marketing strategies on youth purchasing behaviour: A case study of mobile phone industry Y British. Journal of Marketing Studies, 2(4), 72-88.

Baumeister, R. F. (2002). Yielding to temptation: Self-control failure, impulsive purchasing, and consumer behavior. Journal of Consumer Research, 28, 670-676.

Chavosh, A., Halimi, A. B., & Namdar J. (2011). The contribution of product and consumer characteristics to consumer’s impulse purchasing behavior in Singapore. International Conference on Social Science and Humanity, IPEDR, 5, IACSIT Press, Singapore.

Dholakia, U.M. (2000). Temptation and resistance: an integrated model of consumption impulse formation and enactment. Psychology and Marketing, 17(11), 955-982.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30