ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนเลียนแบบดัชนีของกองทุนรวมดัชนีและกองทุนรวมอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ หลวงแก้ว สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชานนท์ ชิงชยานุรักษ์ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรจนา ธรรมจินดา ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การลงทุนเชิงรับ, กองทุนรวมดัชนี, กองทุนรวมอีทีเอฟ, ดัชนีอ้างอิง, Tracking Error

บทคัดย่อ

งานการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการลงทุนเลียนแบบดัชนีของกองทุนรวมดัชนีและกองทุนรวมอีทีเอฟที่มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ ซึ่งพิจารณาจากค่าความแตกต่างที่ยอมรับได้ (Tracking Error : TE) ได้แก่ TE จากค่าสัมบูรณ์ของความแตกต่างของผลตอบแทนระหว่างกองทุนและดัชนีอ้างอิง, TE จากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทนของกองทุนและดัชนีอ้างอิง, TE จากค่าสัมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนของผลตอบแทนจากการวิเคราะห์การถดถอย โดยใช้ Standard Error of Regression (SER) และ TE จากค่า 1-R2 ตามสมการ CAPM ศึกษาร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วยสุทธิของกองทุน ขนาดของทรัพย์สินสุทธิของกองทุน อัตราส่วนค่าใช้จ่ายเงินปันผลและค่าเฉลี่ยของอัตราการหมุนเวียนของกองทุนรวม โดยศึกษาข้อมูลราคาปิดรายวันของ 20 กองทุนรวมดัชนี และ 9 กองทุนรวมอีทีเอฟ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการลงทุนเลียนแบบดัชนีอ้างอิงมากที่สุดคือ เงินปันผล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในเชิงบวก นอกจากนั้น ยังพบปัญหาในการเลือกใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหรือดัชนีอ้างอิงที่ไม่เหมาะสมของกองทุน เป็นผลให้บางกองทุนมีค่า TE ที่ต่ำ แต่ไม่ได้สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกองทุน ผลการศึกษายังพบว่ากองทุนโดยส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐาน นั่นสะท้อนให้เห็นข้อสรุปว่าการสร้างกองทุนรวมดัชนีนั้นไม่สามารถเลียนแบบดัชนีได้อย่างสมบูรณ์

References

ธรรมยศ พนมธรนิจกุล. (2552). การเปรียบเทียบการมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างก่อนและหลังวิกฤติการณ์ทางการเงินปี พ.ศ. 2550 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยวดี นิยมรัฐ. (2534). การทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ โดยพิจารณาถึงพฤติกรรมราคาของหลักทรัพย์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัชลักษณ์ ทรัพย์เงินทอง. (2556). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานระหว่างกองทุนเปิดไทยเด็กซ์ SET High Dividend ETF และกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นปันผล. กรุงเทพฯ. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริพร พรไชยะ. (2543). การประเมินผลการดำเนินงานของกองทนุรวมในประเทศไทยกรณีศึกษา: กองทุนตราสารทุนช่วงปี 2539–2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2552). การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน. กรุงเทพฯ: : ผู้แต่ง.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). กองทุนรวมและหน่วยลงทุน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Adrangi, B., Chatrath, A., & Shank, T. M. (2002). A comparison of the risk-adjusted portfolio performance: the dartboard versus professionals and major indices. American Business Review, 20(1), 82.

Bogle, J. C. (1998). The implications of style analysis for mutual fund performance evaluation. Journal of Portfolio Management, 24(4), 34.

Choy, J. (2014). On the right track: Measuring tracking efficiency in Chinese equity ETFs. Hg. v.Morningstar ETF Research.

Chu, P. K. K. (2011). Study on the tracking errors and their determinants: evidence from Hong Kong exchange traded funds. Applied Financial Economics, 21(5), 309-315.

Cresson, J. E., Mike Cudd, R., & Lipscomb, T. J. (2002). The early attraction of S&P index funds: is perfect tracking performance an illusion?. Managerial Finance, 28(7), 1-8.

Fama, E. F. (1991). Efficient capital markets: II. The Journal of Finance, 46(5), 1575-1617.

Frino, A., & Gallagher, D. R. (2001). Tracking S&P 500 index funds. The Journal of Portfolio Management, 28(1), 44-55.

Frino, A., & Gallagher, D. R. (2002). Is index performance achievable? An analysis of Australian equity index funds. Abacus, 38(2), 200-214.

Grinblatt, M., & Titman, S. (1988). The evaluation of mutual fund performance: An analysis of monthly returns. John E. Anderson Graduate School of Management, University of California.

Jensen, M. C. (1968). The performance of mutual funds in the period 1945–1964. The Journal of Finance, 23(2), 389-416.

Johnson, B., Bioy, H., Kellett, A., & Davidson, L. (2013). On the right track: Measuring tracking efficiency in ETFs. The Journal of Index Investing, 4(3), 35-41.

Kostovetsky, L. (2003). Index mutual funds and exchange-traded funds. Journal of Portfolio Management, 29(4), 80-92.

Pope, P. F., & Yadav, P. K. (1994). Discovering errors in tracking error. Journal of Portfolio Management, 20(2), 27-32

Poterba, J. M., & Shoven, J. B. (2002). Exchange-traded funds: A new investment option for taxable investors. American Economic Review, 92(2), 422-427.

Roll, R. (1992). A mean/variance analysis of tracking error. The Journal of Portfolio Management, 18(4), 13-22.

Rompotis, G. G. (2010). Does premium impact exchange-traded funds’ returns? Evidence from iShares. Journal of Asset Management, 11(4), 298-308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30