เหตุผลในการบัญญัติความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กับลักษณะของการกระทำที่เป็นการเพิ่มการก่ออันตรายให้เกิดความตายหรืออันตรายสาหัส

ผู้แต่ง

  • อัจฉรียา ชูตินันทน์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้, ลักษณะของการกระทำที่เป็นการเพิ่มการก่ออันตรายให้เกิดความตายหรืออันตรายสาหัส

บทคัดย่อ

ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ตามมาตรา 294 และมาตรา 299 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของไทยเป็นความผิดอาญาที่เป็นการก่ออันตราย ความตายหรืออันตรายสาหัสจึงเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงภยันตรายของการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน อนึ่งความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นเป็นเรื่องที่ กระทำในที่สาธารณะและเปิดเผยจึงเป็นการก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะการมีหรือใช้อาวุธเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันย่อมเป็นการเพิ่มการก่ออันตรายจากความรุนแรงของอาชญากรรม ตลอดจนเพิ่มปริมาณของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อสาธารณะ นอกจากนี้การเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ในสถานที่ที่มีประชาชนอยู่อย่างหนาแน่นเป็นจำนวนมากอันได้แก่ โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่จัดการแข่งขันกีฬา หรือการแสดงคอนเสิร์ตย่อมเป็นการเพิ่มการก่อภยันตรายต่อชีวิตหรือความไม่ปลอดภัยในรา่ยกายของประชาชนในวงกว้างด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากการกระทำทเี่ป็นการก่ออันตรายที่อาจเกิดผลที่รุนแรงมากขึ้น จึงขอเสนอให้บัญญัติลักษณะของการกระทำดังกล่าวเป็นบทเพิ่มโทษแก่ผู้เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทุกคนให้ต้องรับัโทษหนักขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการยับยั้ง ข่มขู่และป้องกันอันตรายต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนอันเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.

โกเมน ภัทรภิรมย์. (2524). คำอธิบายกฎหมายอาญาฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณิต ณ นคร. (2553). พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2559). กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณพล จันทน์หอม. (2553). กฎหมายลักษณะอาญา รัตนโกสินทร์ ศก. 127. คณะนิติศาสตร์จุฬาจัดพิมพ์ฉลองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู๋หัวเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต เป็นปีที่ 100. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2532). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2560). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ 37). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2559). กฎหมายอาญาชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระอินทปรีชา. อำมาตย์โท. (2470). คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ภาค 2 ตอน 2. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

หยุด แสงอุทัย. (2561). คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สมศักดิ์ สิงหพันธุ์. (2524). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาเล่ม 4 ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจน์พัฒน์. (กันยายน-ตุลาคม 2537). ความผิดอาญาที่เป็นการก่ออันตรายตามกฎหมายเยอรมัน. ดุลพาห, 5(41), 131-141.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจน์พัฒน์. (2536). ผลของการกระทำในทางอาญา: ศึกษาเฉพาะกรณีผลที่เป็นการก่ออันตราย (วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (19 ธันวาคม 2532). การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ตามกฎหมายอาญาฝรั่งเศส. วารสารนิติศาสตร์, 19(4), 51.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2561). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับหัวเรื่องเรียงมาตรา แก้ไขเพิ่มเติม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2556). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2561). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Packer, H. L. (1968). The limits of the criminal sanction. California: Stanford University Press.

La Fave, W. R., & Scott, A. W. (1972). Criminal law. St. Paul, Mnn: West Publishing Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30