การนำหลักกฎหมายทั่วไปมาพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง: ศึกษากรณีหลักสุจริตในสัญญาสัมปทานและสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค
คำสำคัญ:
สัญญาทางปกครอง, หลักสุจริตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาในเรื่องของการนำ “หลักสุจริต” มาปรับใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาสัมปทานและสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ “หลักสุจริต” อันเป็นพื้นฐานของกฎหมายในทุกระบบมาบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เพื่อบังคับใช้แก่คู่สัญญาใน “สัญญาทางปกครอง” โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ “หลักสุจริต” เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่มีความสำคัญต่อกฎหมายแพ่งทั้งระบบ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พบว่า มีการบัญญัติถึง “หลักสุจริต” จำนวนหลายมาตรา เพื่อควบคุมการกระทำและการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญาอันสำคัญที่อาจส่งผลให้การกระทำนั้นชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ แต่ในส่วนของบทบัญญัติของสัญญาทางปกครอง ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กลับไม่พบการกำหนดถึงหลักสุจริตที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญาเลย จากการศึกษาโดยการค้นคว้าทางเอกสาร งานวิจัยและคำ พิพากษาศาลปกครอง พบว่า่ ตุลาการศาลปกครองได้นำหลักสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหลายคดี มีทั้งกล่าวอ้างหลักสุจริตทั่วไปตามมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ไม่ได้กล่าวอ้างอันอาจเนื่องมาจากการขาดบทบัญญัติถึงหลักสุจริต ซึ่งคดีพิพาทที่เข้าสู่การ พิจารณาของศาลปกครองนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการบอกเลิก แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาฝ่ายเดียว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการบัญญัติ “หลักสุจริต” อันเป็นหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการทั้งหมดของการทำสัญญามากำหนดบังคับใช้แก่คู่สัญญาทางปกครอง
References
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (ก.ค-ธ.ค, 2552). รากเหง้าของหลักสุจริตในระบบกฎหมายยุโรป. วารสารยุโรปศึกษา, 2(17), 152.
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2554). หลักสุจริตและเหตุเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). สัญญาทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ประสิทธิ์ โฆวิไลกุล. (2554). กฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไปคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2559). หลักสุจริตในระบอบรัฐธรรมนูญ. วารสารสังคมศาสตร์, 1(46), 143.
มานิตย์ วงศ์เสรี. (2546). หลักกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครองของประเทศเยอรมัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2561). ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย.
วรนารี สิงโต. (ม.ป.ป.). หลักสุจริต. สืบค้น กรกฎาคม 2562, จาก https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/ex40701-1.pdf.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2533). หลักความได้สัดส่วน. วารสารนิติศาสตร์, 20(4), 99-100.
Beduschi-ORITZ A. (2010). La notion de loyaute en droit administrative. Paris: Dalloz.
B.Odgers C. (1999). Black’s law dictionary (7th ed.). St. Paul: West Group.
Campagnola F. (2016). Bonne foi et loyaute en droit des contrats. Retrieved September 16, 2019, from https://www.village-justice.com/articles/Bonne-foi-loyaute-droit-des-contrats,23007.html.
Christain Heinrich. (2000). Formale Freiheit und material Gerechtigkeit. Tubingen: Mohr Siebeck.
Daneil E. Toomey, William B. Fisher, & Laurie F.Curry. (2003). Public Contrat Law Journal, 1(20), 87-125.
Domat J. (1694). Les loix civiles dans leur ordre naturel. Paris: Imprimieur & libraire ordinaire du Roy.
Carre M. (1822). Les loix civiles dans leur ordre naturel, Oeuvres de J. Domat. Tome III. Paris: Chez Firmin Didot.
Louw, AM. (2013). Yet another call for a greater role for good faith in the South African law contract: Can we banish the law of the jungle, while avoiding the elephant in the room. Potchefstroom Electronic Law Journal, 16(5), 62.
Marchal P. (2014). Principes généraux du droit. Paris: bruylant publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น