การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active learning เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์การเรียนรู้เคมีแลทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning, มโนทัศน์การเรียนรู้เคมี, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางการเรียนรู้เคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning (2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์การเรียนรู้เคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning และ (3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเป็นการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning 2) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์การเรียนรู้เคมี และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning มีชื่อว่า “4C Model” มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.00/85.25 นักเรียนมีมโนทัศน์การเรียนรู้ทางเคมี และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 การขยายผล พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์การเรียนรู้ทางเคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกรส คำใบ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยโครงงานเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิระ ว่องไววิริยะ. (2556). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ในสาระพัฒนาสังคมและชุมชนของผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จำลอง โคตรพัฒน์. (2560). เอกสารเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนหนองห้างพิทยา: จังหวัดกาฬสินธุ์.
ชุลีพร จันทร์ไตรรัตน์, และสิทธิพล อาจอินทร์. (2557). การศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 8(4), 46-54.
ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา วิชาการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนาตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประมวล ศิริผันเเก้ว (2541). การจัดการเรียนการสอนที่ยึดแนวทางการสืบเสาะหาความรู้. สสวท, 26(103), 8.
พวงลดา วรสาร. (2548). ผลการใช้แผนผังมโนมติในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากรนครปฐม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ศรีบุญตาม โจมศรี, และปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2553). การศึกษามโนมติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนมติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(5), 95-101.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2556). ค่าสถิตพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ (I-NET) ปีการศึกษา 2555 - 2556. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโครงการ PISA ประเทศไทย 2012. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550). จุดประกายความคิดชี้ทิศทางการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Kevin, O., & Curtis, C. W. (2003). E-learning: The answer is blended learning, now what was the question again? Talent Development, 57(10). Retrieved October 20, 2018 from https://www.questia.com/magazine/1G1-108787956/e-learning-the-answer-is-blended-learning-now-what
Myro, G., Bedau, M., & Monroe, T. (1987). Rudiments of logic. Prentice Hall.
Vaughan-Wrobel, B. C., & Smith, L. (1997). Evaluating critical thinking skills of baccalaureate nursing students. Journal of Nursing Education, 36(10), 485-488.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น