คุณค่าของนิติวิทยาศาสตร์ในทรรศนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รายงานต่อสภาวิชาชีพบัญชี

ผู้แต่ง

  • ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

การบัญชีนิติวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับวิชาการบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ ที่มีคุณค่าในทรรศนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 2) ศึกษาการสืบสวนสอบสวนในวิชาบัญชีนิติวิทยาศาสตร์กับวิชาชีพสอบบัญชีและปัญหาการทุจริตภายในองค์การ และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของวิชาชีพนักบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สำหรับการศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับวิชาการบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าในทรรศนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พบว่า การนำวิชาการบัญชีนิติวิทยาศาสตร์มาช่วยงานการตรวจสอบการทุจริตมีมากที่สุด รองลงมาคือ การมุ่งเน้นการสืบสวนความไม่ชอบมาพากลทางการเงิน 2. สำหรับวิธีการสืบสวนสอบสวนปัญหาการทุจริตภายในองค์การ พบว่า ผู้สอบบัญชีใช้วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ ตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติ และตรวจสอบจากเอกสารหลักฐาน 3. สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ของวิชาชีพนักบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย พบว่า ผู้สอบบัญชีเห็นว่าต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ เห็นว่าเป็นไปได้แน่นอนที่จะมีวิชาชีพนักบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

References

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับอดีตผู้ช่วยผู้สอบบัญชี 3 ราย ฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหลักทรัพย์. ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 60/2562 วันที่ 27 พฤษภาคม 2562.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 240 เรื่องความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบการเงิน. สืบค้น 6 สิงหาคม 2562, จาก https://www.fap.or.th/upload/9414/nrtaxzEwDE.pdf

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 315 (ปรับปรุง) เรื่องการระบุ และประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ. สืบค้น 6 สิงหาคม 2562, จาก https://www.fap.or.th/upload/9414/eTgafdTa55.pdf

จันทนา สาขากร. (2544). การบัญชีนิติเวช (Forensic Accounting) สาระสำคัญ เทคนิคการตรวจสอบและการเป็นพยานในศาล. วารสารบริหารธุรกิจ, 24(92), 9-14.

วรัญญา เอื้ออมรไพบูลย์. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ของวิชาชีพนักบัญชีสืบสวนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิอร องอาจสิทธิกุล, และเสาวนีย์ สิชฌวัฒน์, (2550). การบัญชีสืบสวนในทัศนคติของผู้สอบบัญชี: การบัญชีสืบสวนในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 3(6), 67-77.

สมชาย ศุภธาดา. (2562). การบัญชีนิติวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์. (2544). การบัญชีสืบสวน : Forensic accounting. วารสารบริหารธุรกิจ, 24(90), 6-10.

อรรถพงศ์ พีระเชื้อ. (2562). การบัญชีนิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้น : Introduction to forensic accounting. เอกสารประกอบการบรรยาย วันที่ 24 สิงหาคม 2562.

Crain, M. A., Hopwood, W. S., Pacini, C., & Young, G. R. (2015). Essentials of forensic accounting. USA: American Institute of Certified Public Accountants.

Crumbley, D. L. (2001). Forensic accounting: Older than you think. Journal of Forensic Accounting, 2, 181-202.

Singleton, T. W., & Singleton, A. J. (2010). Fraud auditing and forensic accounting (4th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30