การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ภาคสนามเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดาวใจ ดวงมณี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, การเรียนรู้ภาคสนามเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ภาคสนามเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษา 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ภาคสนามเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รวม 55 คน ใช้เวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ภาคสนามเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1.1หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 1.3 ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอน มีจำนวน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมความรู้ ขั้นสู่สนาม ขั้นถามให้คิด ขั้นจิตใคร่ครวญ ขั้นชวนชมงาน และขั้นทานทบทวน และ 1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่า หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์. (2553). การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองแบบอนุกรมเวลา (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนม เกตุมาน. (2560). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. สืบค้น 4 กันยายน 2560, จาก https://www.psyclin.co.th/new_page_57.htm

วัชรา คลายนาทร. (2555). ตามรอยเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพื้นที่ฝั่งธนบุรี: ศึกษาจากพงศาวดารและสถานที่จริง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2560). รายงานสถิติการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต. สืบค้น 4 กันยายน 2560, จาก https://www.smartteen.net/.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 7 กันยายน 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์. (2556). ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Isaksen, S. G., Dorval, K. B., & Treffinger, D. J. (2003). Creative problem solving (CPS Version 6.1™) a contemporary framework for managing change. Retrieved March 15, 2018, from https://www.researchgate.net/publication/237616636_Creative_Problem_Solving_CPS_Version_61_A_Contemporary_Framework_for_Managing_Change/download

Lonergan, N., and Andresen, L. (1988). Field – education: Some theoretical consideration. Journal of Higher Education Research and Development, 7(1), 63-77.

Queen’s University Centre for Teaching and Learning. (2012). Field-based learning. Retrieved May 4, 2018, from https://www.queensu.ca/ctl/resources/topicspecifi/fieldbased.html.

Torrance, E. P. (1965). Gifted children in the classroom. New York: Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-20