การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาริ้วรอยรอบดวงตาของครีมสารสกัดจากใบบัวบกสำหรับหญิงไทย

ผู้แต่ง

  • มัญชุนินทร วงษาธรรม สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปองศิริ คุณงาม ภาควิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สารสกัดใบบัวบก, ริ้วรอยรอบดวงตา, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้ครีมสารสกัดใบบัวบกในการรักษาริ้วรอยรอบดวงตาเมื่อเปรียบเทียบกับครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ และ 2) ประเมินผลข้างเคียงของการใช้ครีมสารสกัดใบบัวบกในการรักษาริ้วรอยรอบดวงตา ทำการศึกษาในอาสาสมัครคนไทยเพศหญิง อายุ 30-45 ปี จำนวน 35 คน โดยรอบดวงตาข้างหนึ่งทาครีมสารสกัดใบบัวบกและรอบดวงตาอีกข้างหนึ่งทาครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาภายหลังทาครีมสารสกัดใบบัวบกเพื่อทดสอบริ้วรอยด้วย เครื่อง Cutometer พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของความยืดหยุ่นของผิวบริเวณใต้ตาและหางตาหลังใช้ต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ เทียบเท่ากับกลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ ส่วนในการทดสอบความหยาบ ความราบเรียบและความกว้างของรอยย่นของผิวด้วยเครื่อง Visioscan พบว่าความหยาบของผิวบริเวณใต้ตาของกลุ่มครีมสารสกัดใบบัวบกลดลงตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4 ของการรักษาซึ่งเร็วกว่ากลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ แต่ในบริเวณหางตาไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสองกลุ่ม ความราบเรียบของผิวบริเวณใต้ตามีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของการรักษาเทียบเท่ากันทั้งสองกลุ่ม แต่ในบริเวณหางตากลุ่มสารสกัดใบบัวบกเพิ่มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งเร็วกว่ากลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ ความกว้างของรอยย่นของผิวบริเวณใต้ตาลดลงในสัปดาห์ที่ 4 ของการรักษาเทียบเท่ากันทั้งสองกลุ่ม แต่ในบริเวณหางตากลุ่มสารสกัดใบบัวบกลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งเร็วกว่ากลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์ ส่วนความชุ่มชื้นของผิวทดสอบด้วยเครื่อง Comeometer และเครื่อง Visioscan พบว่ากลุ่มครีมสารสกัดใบบัวบกมีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยซึ่งน้อยกว่ากลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์และทั้งสองกลุ่มไม่พบผลข้างเคียงต่อผิวหนัง และมีความพึงพอใจต่อกลุ่มครีมสารสกัดจากใบบัวบกมากว่ากลุ่มครีมเคาน์เตอร์แบรนด์

References

จันทรพร ทองเอกแก้ว. (2556). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พิมพ์ครั้งที่ 15). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มยุรี ตันติสิระ. (2551). โครงการศึกษาฤทธิ์และความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานบัวบัก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bonte, F., Ducas, M., Chaudange, C., & Mayback, A. (1994). Influence of asiatic acid, madecassic acid, and asiaticoside on human collagen type I synthesis. Planta Medica, 60(2), 133-135.

Fisher,G.J., Kang, S., Varani, J., Bata-Csorgo,Z., Wan, Y., Datta, S., & Voorhees, J. J. (2002). Mechanisms of photo aging and chronological skin aging. Arch. Dermatol, 138(11), 1462-1470.

Hashim, P., Sidek, H., Helan, M. H., Sabery, A., Palanisamy, U. D., & Llham, M. (2011). Triterpene composition and bioactivity of centella asiatica. Molecules, 16(2), 1310-1322.

Lee, J., Jung, E., Lee, H., Seo, Y., Koh, J., & Park, D. (2008). Evaluation of the effects of a preparation containing asiaticoside on periocular wrinkles of human volunteers. International Journal of Cosmatic Science, 30(3), 167-173.

Lee, J. H., Kim, H. L., Lee, M. H., You, K. E., Kwon, B. J., Seo, H. J., & Park, J. C. (2012). Asiaticoside enhances normal human skin migration, attachment and growth in vitro wound healing mode. Phytomedicine, 19(13), 1223-1227.

Lu, L., Ying, K., Wei, S., Fang, Y., Liu, Y., Lin, H., Ma, L., & Mao, Y. (2004). Asiaticoside induction for cell cycle progression proliferation and collagen synthesis in human dermal fibroblast. International Journal of Dermatology, 43(11), 801-807.

Maquart, F. X., Bellon, G., Gillery, P., Wegrowski, Y., & Borel, J. P. (1990). Stimulation of collagen synthesis in fibroblast cultures by a triterpene extracted from Centella asiatica. Connect Tissue Res, 24(2), 107.

Maquart F. X., Chastang F., Simeon A., Birembaut P., Gillery P., & Wegrowsk, Y. (1999). Triterpenes from Centella asiatica stimulate extracellular matrix accumulation in rat experimental wounds. Eur J Dermatol, 9(4), 289-296.

Naylor EC, Watson RE, & Sherratt MJ. (2011). Molecular aspects of skin ageing. Maturitas, 69(36), 249-256.

Shukla, A., Rasik, A. M., & Dhawan, B. N. (1999a). Asiaticoside-induced elevation of antioxidants levels in healing wounds. Phytother, Res, 13(1), 50-54.

Shukla, A., Rasik, A. M., Jain, G. K., Shankar, R., Kulshrestha, D. K., & Dhawan, B. N. (1999b). In vitro and in vivo wound healing activity of asiaticoside isolated from Centella asiatica. J Ethnopharmacology, 65(1), 1–11.

Tenni R., Zanzboni G., De Agostini MP., Rossi A., Bendotti C., & Cetta G. (1988). Effect of the triterpenoid fraction of Centella asiatica on macromolecules of the connective matrix in human skin fibroblast cultures. Ital J Biochem, 37(2), 69-77.

Tiwari, S., Gehlot, S., & Gambhir, I.S. (2011). Centella asiatica: A concise review with probable clinical use. Journal of stress physiology & biochemistry, 7(1), 38-44.

Zainol, N. L., Voo, S. C., Sarmidi, M. R., & Aziz, R. A. (2008). Profiling of centella asiatica (L.) urban extract. The Malaysian Journal of Analytical Scienes, 12(2), 322-327.

ZouboulisCC, & Makrantonaki E. (2011). Clinical aspects and molecular diagnostics of skin aging. Clinics in Dermatology, 29, 3–14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-21