การศึกษาอัตลักษณ์และการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ อินทโชติ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • โสภณ แย้มกลิ่น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เกื้อจิตร ชีระกาญจน์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วัลภา หัตถกิจพาณิชกุล วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, การพัฒนาอัตลักษณ์, มหาวิทยาลัยรัฐบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนิสิตและเพื่อศึกษาการพัฒนาอัตลักษณ์ ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 450 คน โดยสุ่มแบบ Quota Sampling ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 แยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสำนึกดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ในระดับมาก ด้านมุ่งมั่นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 อยู่ในระดับมาก ด้านสามัคคี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 อยู่ในระดับมาก และด้านสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.41 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การศึกษาการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลีย เท่ากับ 3.96 แยกเป็นรายด้าน คือ ด้านกิจกรรมมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 อยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และด้านกิจกรรมเพื่อสังคมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3) เพศแตกต่างกัน มีผลต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างกันโดยนิสิตชายมีอัตลักษณ์น้อยกว่านิสิตหญิง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านมุ่งมั่น ด้านสร้างสรรค์และด้านสามัคคีและเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ที่ไม่ต่างกัน ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) คณะแตกต่างกันมี ผลต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านสำนึกดี ด้านมุ่งมั่นและด้านสร้างสรรค์ และมีความคิดเห็นในกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ที่ไม่ต่างกัน ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับสงสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กาญจนา ทรัพย์นุ้ย, ประสงค์ ตันพิชัย, และ วีรฉัตร์ สุปัญโญ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำกิจกรรมทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นฐานการเรียนรู้. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 34(2), 255-268.

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). คู่มือนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). รายงานประจำปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. (2551). ลักษณะผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิรวัฒน์ วีรังกร. (2556). ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. สัมภาษณ์, 9 พฤศจิกายน 2556.

ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2560). การศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 175-186. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/85033

ชัยยนต์ ศรีเชียงหา. (2554). การพัฒนาแนวคิดเรื่องสมดุลเคมีและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณฐพงษ์ จิตรนิรัตน์. (2548). รหัสชุมชน: พื้นที่อัตลักษณ์ ภาพแทนความจริงและหลังสมัยใหม่. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เกรท เอ็ดดูเคชัน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา. (2556). ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2556.

ปัสสี ประสมสินธ์. (2556). ผู้ชวยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. สัมภาษณ์, 16 พฤศจิกายน 2556.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2546). อัตลักษณ์ชาติพันธ์และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

รัตนา บุญมัธยะ. (2546). พิธีมะเนากับตัวตนคนกะฉิ่น, ใน อัตลักษณ์ ชาติพันธ์และความเป็นชายชอบ. หน้า 117-172. ในปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์ จำกัด.

เรื่องฟ้า บุราคร. (2550). การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ “กระเทย” ในพื้นที่คาบาเร่ต์โชว์ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิรินธร์ ณ วาโย. (2557). การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ IDKU ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2538). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 2: การพัฒนานักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2552). มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ลักษณะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา: เอกสารประกอบการสอนทางกายภาพบำบัด. สืบค้น 23 ตุลาคม 2556, จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/54/6learner54.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-22