ธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมือง โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนรูปแบบใหม่

ผู้แต่ง

  • วราวุฒิ เรือนคำ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://orcid.org/0000-0002-0163-2320
  • สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน, ธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมือง, เมืองชายแดนดิจิทัล, พฤติกรรมผู้บริโภคชายแดน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนด้วยอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์: กรณีธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมือง โดยทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชายแดนประเด็นต่าง ๆ 3 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาการดำเนินธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมืองในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยการรวบรวมข้อมูลและการสำรวจ 2) วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนและอุปสรรคของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา 3) สังเคราะห์แนวทางพัฒนาเมืองชายแดนด้วยการพัฒนาธุรกิจสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างตลาดธุรกิจในพื้นที่ชายแดนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต มีการปรับตัวเข้าสู่การทำธุรกิจสมัยใหม่และความเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้น การศึกษานี้พบว่ากลุ่มธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมืองในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายที่มีศักยภาพประกอบด้วยธุรกิจคาเฟ่สมัยใหม่ (Modern Café) และร้านนั่งทำงาน (Co-working Space) และพบว่าชายแดนเชียงรายมีศักยภาพเชิงพื้นที่และมีโอกาสเติบโตในอนาคต ดังนั้นรัฐบาลควรมีการออกแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยผลการศึกษานี้แนะนำรูปแบบการพัฒนาเมืองชายแดนดิจิทัล (Digital Border City) ที่มุ่งเน้นสร้างเมืองชายแดนให้เป็นเมืองดิจิทัล เตรียมพร้อมของเมืองชายแดนให้รองรับการเข้าสู่สังคมเมืองในยุคดิจิทัล โดยเริ่มจากครอบครัว ชุมชนและจังหวัด และยกระดับการเป็นสังคมเมืองขยายโอกาสทางธุรกิจดิจิทัลสู่ชุมชน

References

ณัฐพรพรรณ อุตมา และคณะ. (2561). การค้าชายแดนในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ภพพรหมินทร์ วโรตม์วัฒนานนท. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1).

พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ. (2561). Gig economy: ระบบเศรษฐกิจใหม่กับวิถีการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์. (2561). จำนวนสถานประกอบในพื้นที่ชายแดน 3 อำเภอที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเมกะเทรนด์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Beth, A. (2015). Globetrotting digital nomads: The future of work or too good to be true?. Forbes Leadership Forum. Retrieved from: https://www.forbes.com/sites/forbesleadershipforum/2015/12/22

EY. (2017). The upside of disruption megatrends shaping 2016 and beyond. Retrieved from http://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/EY-the-upside-of-disruption/$FILE/EY-the-upside-ofdisruption.pdf

KPMG. (2014). Future state 2030: The global megatrends shaping governments. Retrieved from https://assets.kpmg.com/content/dam/kpmg/pdf/2014/02/future-state-2030-v3.pdf

PwC. (2016). Five megatrends and their implications for global defense & security. Retrieved from https://www.pwc.com/gx/en/government-public-services/assets/five-megatrends-implications.pdf

Valentin, E. (2001). SWOT analysis from a resource-based view. Journal of Marketing Theory and Practice, 9(2), 54-69. Retrieved May 22, 2020, from www.jstor.org/stable/40470032

Wang. (2006). Identifying the success factors of web-based marketing strategy: An investigation of convention and visitors bureaus in the United States. Journal of Travel Research, 44(3), 239-249.

Zeev, E. (2017). World’s top global mega trends to 2020 and implications to business, society and cultures. Frost and Sullivan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25