ประสิทธิผลของสูตรพอกหน้าสับปะรดในการเพิ่มความขาวและความชุ่มชื้นกับผิวหน้า

ผู้แต่ง

  • ฤทธิพงศ์ มณีรัตน์ สาขาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปองศิริ คุณงาม ภาควิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สับปะรด, สูตรพอกหน้า, ความขาวของผิว, ความชุ่มชื้นของผิว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของสูตรพอกหน้าสับปะรดในการเพิ่มความขาวแก่ผิวหน้า และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของสูตรพอกหน้าสับปะรดในการเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหน้า โดยการทดลองแบบสุ่มและแบ่งครึ่งหน้าในอาสาสมัครเพศชาย จำนวน 35 คน อายุระหว่าง 25-40 ปี โดยการพอกหน้าด้วยสูตรพอกหน้าสับปะรด จำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาภายหลังพอกหน้าด้วยสูตรพอกหน้าสับปะรดต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อทดสอบความขาวของผิวหน้าด้วยหัวเครื่อง Mexameter พบว่าในบริเวณตำแหน่งหน้าผากและคางมีความขาวเพิ่มขึ้น โดยในตำแหน่งหน้าผากจะขาวขึ้นตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 ของการทดลอง ส่วนในตำแหน่งคางจะขาวขึ้นในสัปดาห์ ที่ 8 แต่พบว่าในตำแหน่งแก้มนั้นไม่มีการเพิ่มขึ้นของความขาว ผลการทดสอบความชุ่มชื้นของผิวหน้า ด้วยหัวเครื่อง Corneometer พบว่าในบริเวณตำแหน่งหน้าผาก แก้มและคาง มีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น โดยตำแหน่งหน้าผากและแก้มมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 8 แต่มีเพียงตำแหน่งคางทีมี่ความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 และมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาที่นานขึ้น จึงทำให้เห็นว่าสูตรพอกหน้าสับปะรดนั้น เห็นผลเรื่องความชุ่มชื้นได้มากในทุกตำแหน่งของการทดลอง และทำให้หน้าขาวขึ้นเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง

References

วิกิพีเดีย. (2556). เมลานิน. สืบค้น 22 มีนาคม 2562, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เมลานิน.

ไทยเฮ็ลท์ไลฟ์. (ม.ป.ป.). เมลานิน/เม็ดสีผิว(Melanin) หน้าที่และสารลดเมลานิน. สืบค้น 22 มีนาคม 2562, จาก https://thaihealthlife.com/เมลานิน.

สมพร ภูติยานันต์. (2551). สมุนไพรใกล้ตัว เล่มที่ 13 ว่าด้วยสมุนไพรแต่ง สี กลิ่น รส. กรุงเทพฯ: เอราวัณการพิมพ์.

สาวิตรี ตาสุติน. (2550). การทดสอบหาสารสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (ปัญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้น 3 กุมภาพันธุ์ 2562, จาก https://www.lib.kps.ku.ac.th

สุพนิดา วินิจฉัย, พิลาณี ไวถนอมสัตย์, และวราภรณ์ อภิวัฒนาภิวัต. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมพอกหน้าที่มีส่วนผสมของเอนไซม์โบรมิเลนบริสุทธิ์จากสับปะรด. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 46, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (น. 215-222). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Ling, D. (2016). Melanin synthesis pathway. Retrieved March 22, 2019, from https://askbeautydr.com/skin-fffffffffffffffffwhitening/melanin-synthesis-pathway/

Ozlen, S. N. (1995). U.S. patent no. 5441740. Washington, DC: U.S. Patent and Trademark Office.

Parrinello, V. N. (1996). U.S. patent no. 5578312. Washington, DC: U.S. Patent and Trademark Office.

Piccioni, A., García-Rodrigo, C. G., Pellegrini, C., Mazzocchetti, G., & Fargnoli, M. C. (2017). Improving skin aging, skin hydration and sensitive skin with four specific skin care products: Results from a single-centre, observational, prospective study. Journal of Cosmetics, Dermatological Sciences and Applications, 7(1), 48-56. Retrieved from https://pdfs.semanticscholar.org/

Telang, P. S. (2013). Vitamin c in dermatology. Indian Dermatology Online Journal, 4(2), 143-146.

Zheng, Z. P., Ma, J., Cheng, K. W., Chao, J., Zhu, Q., Chang, R. C., ... Wang. M. (2010). Sulfur-containing constituents and one 1H-pyrrole-2-carboxylic acid derivative from pineapple [Ananas comosus (L.) Merr.] fruit. Phytochemistry, 71(17-18), 2046-2051. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0031942210003146

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-22