ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสองของผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ วุฒิพรภัทร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริสุข รักถิ่น วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศยามล ลำลองรัตน์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อ, เฟอร์นิเจอร์มือสอง, ความต้องการมูลค่าเพิ่ม, ความปราณีต, ความคุ้มค่าของราคา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสองของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากผู้บริโภคที่มีความชื่นชอบและเคยเลือกซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์มือสอง จำนวน 406 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพและรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสองที่แตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีจุดประสงค์ในการซื้อที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์มือสองที่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านความต้องการมูลค่าเพิ่มของสินค้ามือสองด้านประวัติภูมิหลังของสินค้ามือสอง ด้านความปราณีต ของสินค้ามือสอง ด้านรสนิยม ด้านความคลั่งไคล้และด้านความคุ้มค่าของราคาสินค้ามือสองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์มือสอง

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณพสกล สีมานะชัยสิทธิ์. (2550). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ตู้ชั้นวางของเพื่อใช้ในการตกแต่ง. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

ประชาชาติธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้. (2558). เฟอร์นิเจอร์ 6 หมื่นล้านระอุ 4 ยักษ์ระดมเปิดสาขาทั่วประเทศ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2560, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1382029654.

ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2544). ของที่ระลึก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รุจิรา อัศวรุ่งสกุล. (2556). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์เพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิมลศิริ พัวรัตนอรุณกร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านมีดีไซน์ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรินทิพย์ ภัสดาวงศ์. (2548). ปัจจัยความสำเร็จในธุรกิจประเภทสินค้าของขวัญและของประดับตกแต่งบ้าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร โนจ๊ะ. (2552). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, สุพีร์ ลิ่มไทย, ปริญ ลักษิตานนท์, และองอาจ ปทะวาณิช. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จากัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจ SME. (2556). ธุรกิจมือสองกับช่องทางเพิ่มกำไร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2560, จาก http://www.smethailandclub.com/marketing-75-id.html.

สาคร คันธโชติ. (2547). การออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอน. (2558). บทวิเคราะห์ตลาดสินค้าของขวัญ/ของใช้/ของตกแต่งบ้านในสหราชอาณาจักร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2560, จาก http://www.ditp.go.th/contents_attach/71752/71752.pdf.

อรุณวรรณ ชมบุตร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดโซฟาของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 4-7.

อารี อุดมศิริธำรง. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของชาวต่างประเทศในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2001). Marketing (12th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Karki, T. (2000). Species, furniture type and market factors influencing furniture sales in Southern Germany. Forest Product Journal, 50(4), 85-90.

Kotler, P. (1997). Marketing management. Upper saddle river, New Jersey: Prentice Hall.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Sekaran, U. (2003). Research methods for business (4th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25