โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • นันทพร ชเลจร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

ผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์, การบริหารลูกค้าสัมพันธ์, ความภักดีของลูกค้า, บริษัท A (ประเทศไทย) จำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษา บริษัท A (ประเทศไทย) จำกัด และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าและบริการธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท A (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 367 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) แบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายโดยใช้ โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์เป็นสาเหตุทางตรงของความภักดีของลูกค้า ผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์เป็นสาเหตุทางอ้อมของความภักดีของลูกค้า โดยส่งผ่านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า c2= 65.76, Degrees of Freedom = 58, P-value = 0.27, RMSEA = 0.017,CFI=0.98, IFI = 0.98, CN = 479.36, RMR = 0.0076, GFI = 0.97, AGFI= 0.96, PGFI=0.62 ทั้งนี้ ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีของลูกค้า ธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัท A (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร้อยละ 77

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). ข่าวประชาสัมพันธ์ กสอ. 24/2560. กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

กรุงเทพธุรกิจ. (2559). 6 ความล้มเหลวของสตาร์ทอัพ. สืบค้น 13 ตุลาคม 2559, จาก http://www.bangkokbiznews.com/.

กฤตนพัฒน์ สิงห์สีโว. (2555). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าบริษัทนำเที่ยวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 86-96.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Blueprint Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร. กรุงเทพฯ: ซี.วาย.ซิสเทิม.

ชนินทร เพ็ญสูตร. (2560). ประเทศไทย 4.0 บริบททางเศรษฐกิจและการเมือง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1) (มกราคม-มิถุนายน 2560), 67-99.

ชลลณา กุลสุวรรณ. (2556). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐธยาน์ ภัทรพิเศษวงศ์. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างของผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). SET Your Startup Business Guide: รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฐิณี ประเสริฐลาภ. (2558). การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของผลการวัดแบบวัดเจตคติของลิเคอร์ท. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2) (กรกฏาคม-ธันวาคม 2558), 249-258.

รุธิร์ พนมยงค์, และ นุจรี สุพัฒน์. (2551). การศึกษาวิสัยทัศน์ ความรู้และความต้องการในการพัฒนาทักษะทางโลจิสติกส์ในผู้ประกอบการภาคการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย.

วันชัย กิจเรืองโรจน์. (2557). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างการตอบรับจากลูกค้าและผลการดำเนินงานของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทยา ด่านธำรงกูล, และพิภพ อุดร. (2547). ซีอาร์เอ็ม – ซีอีเอ็ม หยินหยางการตลาด. กรุงเทพฯ: วงกลม.

วิภาวัลย์ แซ่โง้ว. (2557). ปัจจัยของคุณภาพโลจิสติกส์ต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทยศาสตร์ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริรัตน์ สัยวุฒิ. (2558). การจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์. (2561). พาณิชย์จัดงาน e-commerce Big Bang: วิถีการค้าไทย สู่วิถีออนไลน์. ข่าวกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงพาณิชย์, 100 (17 พฤษภาคม 2561).

สุรีรัตน์ ชดช้อย. (2560). อิทธิพลการกำกับของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อความภักดีของลูกค้าอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). นวัตกรรมนำรวย. SMEs Today, 12(102), (กรกฎาคม-กันยายน), 86-96.

Liu, A. Z., Liu, H., & Xu, S. X. (2013). How do competitive environments moderate CRM value? decision support systems.

Chung Ki-Han, & Shin Jae-Ik. (2010). The antecedents and consequents of relationship quality in internet shopping. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 22(4), 473-491.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of psychology testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Dkudiene, & McCorkle. (2015). The effect of eshops’ service quality on lithuanian consumers’ purchase intentions. International Journal of Business, Marketing, & Decision Science, 8(1), 43-59.

Griffin, J. (1995). Customer loyalty, how to earn it and how to keep it. California: Jossey-Bass Publishers.

Gronroos, C. (2000). Service management and marketing: A customer relationship management approach.

Hoboken: John Wiley and Sons.

Stock, J.R., & Lambert, D.M. (2001). Strategic logistics management (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-26