นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัจฉรียา ชูตินันทน์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การตีความกฎหมายอาญา, แนวคิดหรือนิติวิธีในการตีความของประเทศไทย

บทคัดย่อ

การตีความกฎหมายอาญาเป็นบทบาทของศาลในการค้นหาความหมายของถ้อยคำในกฎหมายว่ามีความหมายเช่นใด เพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายอันแท้จริงของกฎหมายอันนำมาสู่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ได้ผลที่ถูกต้องแน่นอน อย่างไรก็ดี นักนิติศาสตร์ไทยยังมีความเห็นในการตีความกฎหมายอาญาที่ยังแตกต่างกันอยู่ อาจเป็นเพราะนักนิติศาสตร์ไทยศึกษากฎหมายในประเทศที่มีระบบกฎหมายที่มีความแตกต่างกันจึงมีนิติวิธี (Juristic Method) ในการตีความกฎหมายอาญาที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า กฎหมายอาญาสามารถตีความขยายความถ้อยคำได้ตราบเท่าที่อยู่ภายใต้เจตนารมณ์แห่งกฎหมายเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เกิดความชัดเจนดังกล่าว ย่อมส่งผลให้ศาลฎีกาไทยยังไม่มีแนวทางเดียวกันในการตีความกฎหมายอาญา ทั้งปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาบางฉบับที่ ศาลใช้ดุลพินิจตีความขยายความถ้อยคำในบทบัญญัติที่มี่โทษทางอาญาอย่างกว้างขวางจนยากหยั่งทราบ เหตุผล ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้การตีความกฎหมายอาญานอกจากตีความตามเจตนารมณ์อันเป็นความมุ่งหมายที่แท้จริงของกฎหมายแล้ว การตีความกฎหมายอาญายังต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระบบกฎหมายด้วย ซึ่งได้รับรองและยืนยันไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางวิชาการตลอดจนป้องกันมิให้ศาลยกเจตนารมณ์แห่งกฎหมายขึ้นอ้างในการตีความบทบัญญัติกฎหมายอย่างไร้ขอบเขต

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.

กิตติศักด์ ปรกติ. (2546). ความเป็นมา และหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณพล จันทน์หอม. (2553). กฎหมายลักษณะอาญา รัตนโกสินทร์ศก. 127(1908). คณะนิติศาสตร์จุฬาจัดพิมพ์ฉลองพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตเป็นปีที่ 100. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณิต ณ นคร. (2559). กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2548, กันยายน). นิติกรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย. หนังสือรวมบทความ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2523). คุณธรรมทางกฎหมายกับการใช้กฎหมายอาญา. วารสารอัยการ, 33(25), 55, 60.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ตอน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2560). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ 37). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร, และวิชา มหาคุณ. (2523). การตีความกฎหมาย. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2546). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2527, ธันวาคม). การตีความกฎหมายอาญา. วารสารนิติศาสตร์, 4(4), 40.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2528, มีนาคม). การใช้การตีความกฎหมาย. วารสารนิติศาสตร์, 15(1), 78-79.

สัญชัย สัจจวานิช. (2525). คำอธิบายกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2555). คำอธิบายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2561). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับหัวเรื่องเรียงมาตรา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2546, พฤศจิกายน). หลักกฎหมายอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2548). คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกูต์. (2477). กฎหมายอาชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง.

Allen, C. K. (1968). Law in the making (7th ed). Oxford: Clarendon Press.

Jolowicz, H. F. (1957). Roman foundations of modern law. London and Oxford University Press.

Schuster, E. J. (1907). The principle of German civil law. London and New York: Stevens & Sons Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-26