ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3

ผู้แต่ง

  • กิริตา บุญศัพย์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กล้า ทองขาว วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21, การบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และแสวงหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือครู 323 คน และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้ทำทางวิชาการสูง 3 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของเครื่องมือ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.96 ค่าความเชื่อมั่น 0.973 และสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบ Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการสอนงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านการนิเทศและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู และด้านการส่งเสริมให้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย รองลงมาตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบทรรศนะของครู ตามลักษณะภูมิสังคม พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอนต่างกันมีทรรศนะต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามวิทยฐานะมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเอง มีวิสัยทัศน์ มีความทันสมัย ส่งเสริมการพัฒนาครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในทุก ๆ ด้าน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ เข้าใจสภาพความเป็นจริง สภาพปัญหาของครูและผู้เรียนแล้วนำมาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา สนับสนุนการทำงานเป็นทีม วางแผนกำหนดนโยบายที่ชัดเจน สนับสนุนกิจกรรมการเสริมสร้างสถานศึกษา เพื่อตอบสนองการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

References

ถาวร เส้งเอียด. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธาวิต วิริยสกุลทอง. (2561). แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, 1869-1879.

เธียรพัฒน์ ชุปวา. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์เวริเดียน มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 1738-1754.

นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม, และกาญจน์เรืองมนตรี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําทางวิชาการของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 184-193.

บุษบา เสนีย์, เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, และขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์, 20(2), 27-40.

ประเสริฐ เนียมแก้ว, นพรัตน์ ชัยเรือง, และวีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 1(2), 10-19.

ปาริชาติ ชูปฏิบัติ. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พรสุดา ฮวบอินทร์. (2559). ผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู:กรณีศึกษาสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). การศึกษาไทย 4.0 :การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตตา สอนเสนา, และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(1), 115-123.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

อัจฉรา โพธิ์อ้น. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี, 4(1), 143-150.

Deborah K. (2002). The changing shape of leadership. Journal of Beyond Instructional Leadership, 59(8), 61-63.

Hallinger, P., & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behaviour of principals. The Elementary School Journal, 86, 217-247.

Huber, J. (2007). On the origins of gender inequality. Sociological Theory, 27(4), 390-406.

McEwan, E. K. (2003). 7 steps to effective instructional leadership. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21