ความผิดอาญาที่ควรนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทชั้นพนักงานสอบสวน

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก, กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

บทคัดย่อ

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice: R.J.) และ แนวทางวิธีปฏิบัติที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งของต่างประเทศและของไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์ความยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ตามประมวลกฎหมายอาญาและตามพระราช บัญญัติจาราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีเอกชนเป็นผู้เสียหายและมีเอกชนเป็นผู้เสียหายร่วมกับรัฐ ซึ่งเป็น คดีเล็กๆ น้อยๆ ไม่ควรจะนำคดีอาญาดังกล่าวขึ้นสู่ศาล ควรใช้กระบวนการเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อ พิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน รวมทั้งศึกษาจากตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารจากการสัมมนา ต่างๆ วารสาร ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวข้างต้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า จากผลการศึกษาวิจัยที่รับข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การประชุม สัมมนา การรับฟังความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน มีข้อ สรุปได้ดังนี้ 1. ควรที่จะมีกฎหมายใหม่มารองรับเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นการเบี่ยงเบนคดีในคดีอาญาบาง ประเภทที่ไม่สมควรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Justice: M.S.J.) 2. ความผิดอาญาประเภทที่ควรนำ มาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ดังนี้ 1) คดีอาญาอันยอมความได้ 2) คดีลหุโทษ 3) การกระทำความผิดโดยประมาท ซึ่งรวมไปถึงการกระทำโดยประมาทในคดีจราจรด้วย 4) คดีอาญาอันยอมความมิได้ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

References

โกเมศ ขวัญเมือง, และสิทธิกร ศักดิ์แสง. (2549). การศึกษาแนวใหม่: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจวุฒิสภา. (2552). โครงการสัมมนา เรื่อง “การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นสอบสวน” วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส อำเมือง จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา. (2552). โครงการสัมมนา เรื่อง “การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นสอบสวน” วันที่ 7 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมรีเจซี่ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

คณะอนุทำงานจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในงานคุมประพฤติ. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในขั้นตอนการสืบเสาะและพินิจสำหรับพนักงานคุมประพฤติ (เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในงานคุมประพฤติ). กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.

คณิต ณ นคร. (2552). วิอาญาวิพากษ์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, และคณะ. (2548). วรรณกรรมปริทัศน ์ เรื่อง “ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืน “อำนาจ” แก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ชาติ ชัยเดชสุริยะ. (2552). เอกสารประกอบการสัมมนา “ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....” วันพุธ ที่ 20 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

ณภัทร กตเวีเสถียร. (2547). การระงับข้อพิพาทในคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ศึกษาเฉพาะความผิดทีมี่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2478). ราชกิจจานุเบกษา, 42, 589.

ประมวลกฎหมายอาญา. (2499). ราชกิจจานุเบกษา, 731(94 ฉบับพิเศษ), 1-15.

ประเสริฐ เมฆมณี. (2523). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124(47ก), 1.

วันชัย รุจนวงศ์. (ม.ป.ป.). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.

สิทธิกร ศักดิ์แสง, และคณะ. (2553). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน (รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุวิจักขษ์ โฉมวงศ์. (2548). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัณณพ ชูบำรุง. (2527). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

David, M. (2000). An International Review of Restorative Justice – Crime Reduction Research Series (Paper No.10).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28