การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนในการพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิศมัย สารการ คณะศิลปศาสตรประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นนทิรัตน์ พัฒนภักดี ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ภาวศุทธิ อุ่นใจ ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน, แรงงานต่างด้าวชาวพม่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงาน การได้รับการยอมรับ จากเพื่อนร่วมงาน และความพึงพอใจต่อค่าตอบแทน ในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและ แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนกับแรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในกรุงเทพมหานคร ด้วยการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนในการทำงาน รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational Research) ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยคือ แรงงานต่างด้าวชาวพม่าในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติเดือนสิงหาคม 2557 จากสำนักบริหาร แรงงานต่างด้าว จำนวน 62,629 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 404 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามภาษาพม่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Pearson Correlation และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กับแรง จูงในในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 กล่าวคือ เมื่อระดับการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มขึ้น แรงจูงใจในการทำงาน ของพนักงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (r=.681) คิดเป็นร้อยละ 46.37 2) ความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนโดยรวม มีความสัมพันธ์กับแรงจูงในในการทำงานของแรงงานต่างด้าว ชาวพม่าในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กล่าวคือ เมื่อระดับความพึงพอใจ ต่อค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับ ค่อนข้างสูง (r=.634) คิดเป็นร้อยละ 40.19 3) การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานด้านการยกย่อง ชมเชย ด้านความสำเร็จในผลงาน และความพึงพอใจต่อค่าตอบแทน ด้านความโปร่งใสในค่าตอบแทน มีประสิทธิภาพในการทำนายแรงจูงใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2539). แรงงานต่างด้าวชาวพม่า. วารสารข่าวตลาดแรงงาน. 11, 2.

จิรพล ภูมิภักดี. (2546). การศึกษาความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ฐิติกร พุกพูน. (2550). ความพึงพอใจของนักกีฬาทีมชาติไทยที่มีต่อค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับจากการกีฬาแห่งประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐ ประสีระเตสัง. (2551). ความพึงพอใจของผู้บริหารต่อแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545). เทคนิคการจูงใจพนักงาน. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.

ธมน ตันสงวน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในงานของแรงงานพม่าในโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธวัชชัย ศรีสำราถ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพิจารณาความดีความชอบประจำปีกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

นิชาภา ประสบอารยา. (2543).การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรีดา พรมเพชร.(2555). แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู้ด จำกัด อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิมพ์พร อังสกุลวงศ์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นที่มีต่อระบบการจ่าค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบัญชีในองค์กร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยงยุทธ โพธิ์ทอง. (2546). ปัจจัยในการทำงานของพนักงานสำนักงานใหญ่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชาญ เคยการ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับแรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2546). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศิพิมพ์ ศรบัลลังก์. (2555). ที่มาของแรงงานพม่าในประเทศไทย. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 33,19.

ศิริพร โอฬารธรรมรัตน์. (2546). การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัท อดินพ จำกัด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวรรณี ทับทิมอ่อน.(2548). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทบางปะกงวู๊ดปัญหาพิเศษ (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสกสิทธิ คูณศรี. (2539). การประเมินความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยกรณีศึกษาอ.แม่สอด จ.ตาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

Vroom, V.H. (1994). Work and Motivation. New York : John Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28