ภูมิหลังความสามารถในการสร้างสรรค์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ปรัศนีย์ เกศะบุตร ภาควิชาการจัดการการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ปิยวุฒิ ศิริมงคล ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ภูมิหลัง, ความสามารถในการสร้างสรรค์, ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค, ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอิทธิพลของภูมิหลัง (เพศ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และการเป็นเจ้าของธุรกิจของบิดามารดา) ความสามารถในการสร้างสรรค์ และความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรค ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (2) ศึกษาอิทธิพล ของภูมิหลังทั้งสามด้านดังกล่าวที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์และความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระดับปริญญาตรี 1,071 คน โดยเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ แบบสอบถามภูมิหลัง แบบวัดความสามารถในการสร้างสรรค์ (α= 0.892) แบบวัดความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (gif.latex?\alpha = 0.872) และแบบวัดความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ gif.latex?\alpha= 0.947) สถิติวิเคราะห์ คือ สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า (1) ภูมิหลังด้านประสบการณ์ ในการทำธุรกิจ และการเป็นเจ้าของธุรกิจของบิดามารดา ความสามารถในการสร้างสรรค์ และ ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่เพศไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ (2) ภูมิหลังด้านประสบการณ์ในการทำธุรกิจมี อิทธิพลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค อย่างมีนัย สำคัญที่ระดับ .01 ส่วนเพศมีอิทธิพลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ ไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ในขณะที่ การเป็นเจ้าของธุรกิจของบิดา มารดาไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ของนักศึกษา

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2552). ศักยภาพและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ 2551. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์. (2557). ทุนมนุษย์-ปัจจัยเร่งการเป็นผู้ประกอบการระหว่างประเทศในยุคการค้าเสรีอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 37(142), 1-15.

ชุติมา หวังเบ็ญหมัด และ เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์. (2555). สมรรถนะทางด้านบริหารธุรกิจและความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2554). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ปฏิภาณ เสี้ยจันทร์บริบูรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปีสุดท้ายระดับปริญญาตรี คณะการจัดการและการท่องเที่ยว ภาคปกติ มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์, นิพา ศรีวะรมย์, และ วรกมล วิเศษศรี. (2556). สมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการกับการเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พรทิพย์ ม่วงมี. (2555). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 4(1), 74-82.

ลดารัตน์ ศรรักษ์. (2556). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจแบบผสมผสานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร มฉก. วิชาการ, 17(33), 17-34.

ศิริพร ยาวิชัย. (2552). ความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อาคิรา โสภณวชิรวงศ์. (2552). อำนาจพยากรณ์ของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู และแรงจูงใจภายในที่มีต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Akanbi, S. T. (2013). Familial Factors, Personality Traits and Self-Efficacy as Determinants of Entrepreneurial Intentions among Vocational Based College Education Students in OYO State, Nigeria. An online Journal of the African Educational Reseach Network 13(2), 66-76.

Arntén, A. C. A., Jansson, B., & Archer, T. (2008). Influence of affective personality type and gender upon coping behavior, mood, and stress. Individual Differences Research, 6(3), 139-168.

Cheung, P. C., & Lau, S. (2013). A table of two generations: Creativity growth and gender differences over period of education and curriculum reforms. Creativity Research Journal, 25(4), 463-471.

Cohen. J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nded.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (1996). GPOWER: A general power analysis program. Retrieved June 5, 2015, from http://www.psycho.uni-duesseldorf.de/aap/projects/gpower

Fatoki, O. (2014). The Entrepreneurial intentions of undergraduate students in South Africa: The influences of entrepreneurship education and previous work experience. Mediterranean Journal of Social Sciences, 5(7), 294-299.

Farrington, S. M., Venter, D. J. L., & Louw, M. J. (2012). Entrepreneurial intentions: Demographic perspectives of South African business students. South African Journal of Business Management, 43(3), 41-49.

Guilford, J. P. (1967). The nature of human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Kaufman, S. B. (2013). Opening up Openness to experience: A four factor model and relations to creative achievement in the arts and sciences. Journal of Creative Behavior, 47(4), 233-255.

Lee, L., Wong, P. K., Foo, M., & Leung, A. (2011). Entrepreneurial intentions: The influence of organizational and individual factors. Journal of Business Venturing 26, 124-136.

Liñán, F., & Chen, Y. (2009). Development and cross-cultural application of a specific instrument to measure entrepreneurial intentions. Entrepreneurship Theory and Practice, 33(3), 593-617.

Opoku-Antwi, G. L., Amofah, K., Nyamaah-Koffuor, K., & Yakubu, A. (2012). Entrepreneurial Intention Among Senior High School Students in the Sunyani Municipality. International Review of Management and Marketing, 2(4), 210-219.

Palmer, J., Griswold, M., Eidson, V., & Wiewel, P. (2015). Entrepreneurial intentions of male and female university students. International Journal of Business and Public Administration, 12(1), 152-166.

Phipps, S. T. A. (2012). Contributors to enterprising gender: Examining the influence of creativity on entrepreneurial intentions and the moderating role of political skill controlling for gender, Academy of Entrepreneurship Journal, 18(1), 77-90.

Phipps, S. T. A., & Prieto, L. C. (2015). Woman versus men in entrepreneurship: A comparison of the sexes on creativity, political skill, and entrepreneurial intentions. Academy of Entrepreneurship Journal, 21(1), 32-43.

Phipps, S. T. A., Prieto, L. C., & Kungu, K. K. (2015). Exploring the influence of creativity and political skill on entrepreneurial intentions among men and women: A comparison between Kenya and the United States. International Journal of Entrepreneurship, 19, 179-194.

Samuel, Y. A., Ernest, K. Awuah, J.B. (2013). An assessment of entrepreneurship intention among Sunyani Polytechnic marketing students. International Review of Management and marketing 3(1), 37-49.

Santos, F. J., Roomi, M. A., & Liñán. F. (2014). About Gender Differences and the Social Environment in the development of Entrepreneurial Intentions. Retrieved May 15, 2015, from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jsbm.12129

Siu, W., & Lo, E. S. (2013). Cultural contingency in the cognitive model of entrepreneurial intention. Entrepreneurship Theory and Practice, 37(2), 147-173.

Stoltz, P. G. (2001). Your adversity quotient. Innovative Reader. Retrieved May 12, 2015, from

http://www.wintonbrill.com/bril001/html/articleindex/articles/501-550/article517body.html

Stoltzfus, G.,Nibbelink, B. L., Vredenburg, D. & Thyrum, E. (2011). Gender, gender role, and creativity. Social Behavior and Personality, 39(3), 425-432.

Turker, D., & Selcuk, S. S. (2009). Which factors affect entrepreneurial intention of university students?. Journal of European Industrial Training, 33(2),142-159.

Xinzhuo, Z., Junhua,, S. & Zhihui, D. (2015). The impact of family background on college students’ chances of serving as student union cadres. Chinese Education & Society. 48(2), 128-142.

Zhang, P., Wang, D. D., & Owen, C. L. (2015). A study of entrepreneurial intention of university students. Entrepreneurship Research Journal, 5(1), 61-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28