การแปลความหมายภูมิวัฒนธรรมและคุณค่า มรดกทางวัฒนธรรม “บ้านแม่กุ้งบก” ตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ พงษ์พันธ์เดชา สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เคน เทย์เลอร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย

คำสำคัญ:

ลัวะ/ละว้า, มอญ/เม็ง/รามัญ/ตะเลง, หริภุญไชย, โยน/โยนก/ยวน, ล้านนา, ลื้อ/ไทลื้อ, ไต/ไตโหลง/ไทใหญ่

บทคัดย่อ

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม บ้านแม่กุ้งบก ถูกกำหนดขึ้นให้เป็นบริเวณโดยรอบหมู่บ้านชนบทแห่ง หนึ่ง อันเป็นที่ รู้จักกันในนามว่า “บ้านแม่กุ้งบก” ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง ห่างจาก ตัวเมือง เชียงใหม่ ไปยังทิศใต้ ประมาณ 20 กิโลเมตร ในที่ราบแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ หลักของ อาณาจักรล้านนา

ถึงแม้ประวัติศาสตร์บอกเล่านำเสนอว่า หมู่บ้านในปัจจุบัน ถูกตั้งขึ้นโดยผู้อพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ ในราว ศตวรรษที่ 17 แต่จากการศึกษาทางโบราณคดีขึ้นต้นเสนอว่า หมู่บ้านน่าจะถูกตั้งขึ้นเก่า ถึงศตรวรรษที่ 15 ทั้งนี้ ยังไม่ รวมกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม “ลัวะ” ซึ่งอาศัยอยู่ในพี้นที่มาก่อนกลุ่มผู้ตั้งถิ่น ฐานอื่นๆ ตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 9 ซึ่งยังคงอาศัย อยู่ในพื้นที่

จากคุณลักษณะดังกล่าว ของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม แม่กุ้งบก ประกอบการใช้วิธีการทำ ”แผนที่ ทางวัฒน- ธรรม” โดยอาศัยแนวทางของ “ข้อกำหนดร่วมด้านอัตลักษณ์ของท้องถิ่น” ผู้วิจัยสามารถประติดประต่อ ข้อมูลทางด้าน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ที่มีอยู่เข้าด้วยกันเพื่อสร้างสมมุติฐานของ กาลา นุกรมด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยให้ เข้าใจได้ ในระดับหนึ่งว่า กิจกรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแม่กุ้งบก ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพ ให้แก่ภูมิทัศน์วัฒน- ธรรมแห่งนี้ จนเป็นอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ อย่างไร

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และ มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการทำแผนที่ในระหว่างการ วิจัยผลของการวิจัยได้รับการสรุปว่าภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม บ้านแม่กุ้งบก แต่เดิมน่าจะได้รับการสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของ ชนชาติพันธุ์ ดั้งเดิม ชาว“ลัวะ” และต่อมาได้รับการดัดแปลงให้เป็นฐานที่ มั่น ทางการทหาร โดยชนชาติที่มาตั้งถิ่นฐาน ในภายหลัง เช่น ชาว “มอญ” และชาว “โยน” หลังจาก ผ่านห้วงแห่งสงครามมานานหลายศตรวรรษ พื้นที่แห่งนี้ ก็กลาย เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้อพยพชาว “ลื้อ” ซึ่งได้ผนวกเอากลุ่มชนดั้งเดิมและวัฒนธรรมเข้าเป็นของตน ส่งผลให้เกิดชุมชน ที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ซึ่งผสมผสาน ชาวลัวะ, โยน, ลื้อ และ ไต เข้าไว้ด้วยกัน

References

Common Ground. (2013). Rules of Distinctiveness. Retrieved March 31, 2013, from http://www.england-in-particular.info/cg/distinctiveness/d-rules.html

Cook, I., & Taylor, K. (2012). A Contemporary Guide to Cultural Mapping-An ASEAN-Australia Perspective, Jakarta: The ASEAN Secretariat.

Google Earth. (2013). Sattelite image of Mae Koong Bok Village. Retrieved September 19, 2013, from www.google.com/earth/

Jaitui, S. (2012). Memorial book in occasion of Lord Wilangkha (ขุนหลวงวิลังคะ) monument homage ceremony in 2012 at Bo Luang Municipal Sub District (เทศบาลตำบลบ่อหลวง) office in Hod District (อำเภอฮอด) of Chiang Mai Province. Chiang Mai: Bo Luang Sub District.

Khumchan, M. (2008). Phi Nai Lanna, Chiang Mai: Happy Book Publishing.

Lewis, P. (1979). Axioms for Reading the Landscape: Some Guides To the American Scene. In Interpretation of Ordinary Landscapes: Geograpical Essays. Oxford: Oxford University Press.

Phra Bhodhi Rangsi, (1477). Cammdevivamsa Chronicle of Hariphunchai. In Phraya Pariyat Dhamma Thada (Pae Talalak) and Phraya Yana Wichit (Sidti Rojanananta) 376 (eds.) Story of Jammdevi Wong and City of Hariphunchai Chronicle (เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย). 2011 edi. Bangkok: Sri Panya Ltd. In Phraya Pariyat Dhamma Thada (Pae Talalak) and Phraya Yana Wichit (Sidti Rojanananta)

Penth, H. (2004). A Brief History of Lanna Northern Thailand from Past to Present. Chiang Mai: Silk Worm Books.

Social Research Institution of Chiang Mai University. (2008). ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธ์ุไท (Tai Lue, Distinctive Characteristic of Ethnic Tai Race). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Social Research Institution of Chiang Mai University. (2008). ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์ (Tai Yai, Greatness within the Ethnic Race). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Sripasang, V. (2012). Sin Nam Tuam (ซิ่นน้ำท่วม). Retrieved April 11, 2014, from http://www.songsakarn.com/forum/viewthread.php?tid=5839&extra=&page=2

Taylor, K. (1997). On What Grounds Do Landscapes Mean?. SAHANZ 1997, 228-234.

Taylor, K. (2015). Cultural Landscapes: A Bridge Between Nature and Culture. Retrieved May 3, 2015, from http://penanginstitute.org/v3/files/Penang_Cult_Lsc_Public_lecture.pdf.3.

UNESCO. (2005). Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention. Retrieved May 29, 2014, from http://whc.unesco.org/archive/opguide05-en.pdf

Wichienkheow, A., & Wyatt, D. (2004). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (Regional legend of Chiang Mai). Chiang Mai: Silk Worms Book.

Wikipedia. (2014). Sino-Burmese War (1765–69). Retrieved May 16, 2014, from http://en.wikipedia.org/wiki/Sino-Burmese_War_(1765–1769)#cite_note-FOOTNOTE Giersch 2006101 .E2.80.93110-15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28