พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ผลกระทบ, เครือข่ายสังคมออนไลน์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรีจำแนกตาม เพศ และแผนการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 620 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ผลกระทบที่ศึกษาเป็นผลกระทบทางด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า 1. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Facebook มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น LINE และ Instagram มีวัตถุประสงค์ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มาก เป็นอันดับหนึ่งคือ ใช้คุยกับเพื่อนเกี่ยวกับทั่วๆ ไป รองลงมาเป็นการใช้เพื่อคุยกับเพื่อนเกี่ยวกับการเรียนและการบ้าน สำหรับการจัดการเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในแต่ละวัน พบว่า นักเรียนใช้ เฉลี่ยวันละ 7.30 ชั่วโมง ผู้ที่ใช้น้อยที่สุดใช้วันละ 45 นาที ส่วนผู้ที่ใช้มากที่สุดใช้วันละ 24 ชั่วโมง ซึ่ง หมายถึงนักเรียนเปิดอุปกรณ์เชื่อมต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ตลอดทั้งวัน นักเรียนมีประสบการณ์ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฉลี่ย 7.29 ปี ผู้ที่มีประสบการณ์น้อยที่สุดคือเพิ่งใช้มาเพียง 1 ปี ส่วน ผู้ที่มีประสบการณ์มากที่สุดคือใช้มาเป็นเวลา 10 ปี 2. เปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรีจำแนกตามเพศและแผนการเรียน พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิง ได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้รับผลกระทบทางด้านสังคมจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และได้รับผลกระทบทางด้านการเรียนจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยนักเรียนชายได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์ สังคมและการเรียนจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่านักเรียนหญิง 3. นักเรียนที่มีแผนการเรียนแตกต่างกันได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์ จากการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยนักเรียนแผนศิลป์-คณิต ได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์ จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงเป็นนักเรียนแผน ศิลป์ภาษา และนักเรียนแผนวิทย์-คณิต ตามลำดับ แต่นักเรียนที่มีแผนการเรียนแตกต่างกันได้รับผลกระทบทางด้านสังคม และผลกระทบทางด้านการเรียนไม่แตกต่างกัน

References

กติกา สายสุนีย์. (2555). เครือข่ายสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2555, จาก http://www.keng.com/2008/08/09/what-is-social-networking/.

กลุ่มนโยบายและแผน. (2557). ข้อมูลสารสนเทศปีการศึกษา 2557. เอกสารลำดับที่ 1/2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. นนทบุรี: บริษัท พี.พี.เอส กิจเจริญ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑามณี คายะนันทน์. (2554). พฤติกรรม และผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คดอทคอม www.facebook.com) (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ และคณะ. (2555). ผลกระทบการใช้โปรแกรมการสนทนาออนไลน์ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชนากิตต์ ราชพิบูลย์. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธิภัทรา เพ็งจันทร์. (2554). แรงจูงใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทFacebook. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเลิศ รังผึ้ง. (2558). เครือข่ายสังคมออนไลน์: ผลกระทบทางสังคมในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558, จาก https://www.l3nr.org/posts/450300.

บุษรา ประกอบธรรม. (2556). การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 106-116.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2552). กระบวนการและแนวคิดการทำงานของนักพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

ผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์. (2558). สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2556, จาก http://thedctmike.blogspot.com/2013/01/technology-lesson-5_8915.html).

พิมพ์สุรีย์ พงษ์เสือ. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. แขนงวิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิชญาวี คณะผล. (2553). การศึกษาทัศนคติการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา: นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาจังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรปภัสสร ปริญชาญกล และคณะ. (2553). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษา Facebook (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรวดี เสนแก้ว. (2554). ผลกระทบของการสนทนาบนอินเตอร์เน็ตต่อวัยรุ่นตอนปลายในเขตเทศบาลนครยะลา. วารสารศิลปศาสตร์, 3(1), 105-121.

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล พิจารณ์ เจริญศรี และ อำไพ ทองธีรภาพ. (2557). ผลของการใช้เฟสบุ๊คที่มีต่อสมรรถภาพด้านการเรียนของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. โครงการวิจัยทุนสนับสนุนการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สัญญาเลขที่ RDG5640033, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วชิราภรณ์ สังข์ทอง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เครือข่ายทางสังคมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2557. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558. จาก http://www.service.nso.go.th.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2557). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2553, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลกระทบของพฤติกรรมการรับสื่ออินเตอร์เน็ตต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทย: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 10( 2), 54-62.

อาชิรญาน์ สุทัศน์ และ ธีรพล เป็กเยียน (2558,มกราคม-เมษายน). การใช้สังคมออนไลน์ที่มีผลต่อนักศึกษา ปริญญาตรี. วารสารวิชาการ, 9(18), 9-13.

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์). กรุงเทพฯ:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อริยาภรณ์ เลิศพัฒนกิจกุล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียน ใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. 4th ed. New York: Harper & Row Define: Responsibility, Retrieved June 5, 2015, from URL: http://www.en.wikipedia.org/wiki/responsibility.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale: Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley &Son.

Wikipedia. (2012). Social Network. Retrieved April 5, 2012, from http://www.wikipedia.org.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd edition). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29