การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ โฆษชุณหนันท์ สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, วิศวกรไทย, บริษัทญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตลอดจนปัญหา และอุปสรรคของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ วิศวกรที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test และ F–test (One - way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่

ผลการวิจัย พบว่า วิศวกรไทยที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมอมตะนครที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-5 ปี และดำรงตำแหน่งอยู่ ในระดับปฏิบัติการ ในด้านความถี่ในการใช้ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน โดยพบว่ามี การใช้ทักษะการอ่านมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เป็นภาษาอังกฤษ รองลงมาทักษะด้านการฟัง เช่น การฟังในที่ประชุม ฟังข้อมูลจากผู้บริหาร จากผู้เชี่ยวชาญ จากลูกค้า และฟังจากสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ซีดี ทักษะด้านการเขียน พบว่า ส่วนใหญ่จะเขียนจดหมายธุรกิจในลักษณะของการส่งข้อมูลผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และทักษะด้านการพูด พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้ทักษะดังกล่าวน้อยมาก ส่วนใหญ่พูดนำเสนอรายงานในที่ประชุม เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบตามตำแหน่งงานของวิศวกร พบว่าวิศวกรที่มีตำแหน่งระดับบริหารมีการใช้ภาษาอังกฤษ ในภาพรวมมากกว่าวิศวกรที่มีตำแหน่งระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่านและการเขียน และเปรียบเทียบตามความถี่ในการใช้ภาษาอังกฤษ พบว่าวิศวกรที่มีความถี่ในการใช้ภาษาอังกฤษต่างกัน มีร ะดับการใช้ภาษาอังกฤษในภาพรวมต่างกันทั้งทักษะด้านการฟัง ทักษะด้านการอ่าน ทักษะด้านการพูด และทักษะการเขียน

ปัญหาและอุปสรรคการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า การรู้คำศัพท์ ไวยากรณ์เป็นปัญหามากทั้งต่อทักษะการอ่านและทักษะการเขียน

References

ฐมณฑ์ปวีร์ เพชรรัตน์. (2555). การสำรวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อประเมินตำราเรียนในการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของพนักงานสายงานปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทรงพร ทาเจริญศักดิ์ รัชนี เสนีย์ศรีสันต์ และพรพิมล ชุติศิลป์. (2547) . รายงานการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การใช้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในอุตสาหกรรมยานยนต์. กรุงเทพฯ: โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสบสุข หอมหวล และยุพิน กาญจนะศักดิ์ดา. (2552). ความต้องการและการขาดแคลนแรงงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 67-73.

ภัทรี รัตนมณฑ์. (2546). การใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานไทยต่อการปฏิบัติงานในบริษัทต่างชาติ : กรณีศึกษาบริษัท อีทีเอ (ประเทศไทย) จำกัด (ปัญหาพิเศษ-รป.ม.) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาลี ลำสกุล. (2546). สารสนเทศและสารสนเทศศาสตร์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์ เบื้องต้น (หน่วยที่ 1, น.16). นนทบุรี: สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย. (2557). สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2557. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2558, จาก http://www.thinkasiainvestthailand.com/boicontent/webfocus/pdf_199.pdf.

อมตะ คอร์ปอเรชั่น.(2010). Amata Nakorn Industrial Estate. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2558, จาก http://www.amata.com.

อมตะ คอร์ปอเรชั่น. (2014). Directory 2014. กรุงเทพฯ: อมตะ คอร์ปอเรชั่น.

อานนท์ ไชยสุริยา. (2552). การใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในภาคตะวันออกของประเทศไทย. ในการประชุมเวทีวิจัยมนุษย์กับสังคม 52 (น.149-162). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Arapoff, N. (1967). Writing: A thinking process. Tesol Quarterly, 1(5), 119-120.

Bond, G. L. and Tinker, A. M. (1979). Reading difficulties their diagnosis and Correction (4th ed). New York: Prentice-Hall, Inc.

Conley, M. W. (1995). Content reading instruction : A communicative approach (2nd ed). New York: McGraw-Hill, Inc.

Gilakjani, A. P. and Ahmadi, R. M. (2011). A study of factors affecting EFL learners’ English listening comprehension and the strategies for improvement. Journal of Language Teaching and Research, 2(5), 977-988

Morley, J. (2001). Teaching English as a Second or Foreign Language (3rd ed). Boston: Heinle & Heinle.

Ralph, N. G. & Stevens, S. L. (1957). Are You Listening?. New York: McGraw-Hill.

Sadowski, A. C. (2011). Providing health information to older adults. Reviews in Clinical Gerontology. 21(1), 55-66 .

Saricoban, A. (1999). The teaching of listening. In The internet TESL Journal. Retrieved August 26, 2015 form http://iteslj.org/Articles/Saricoban-Listening.html.

Tinh, C. L. (2015). Needs analysis of English for mechanical engineering students in the Vietnamese context In TESOL Conference 2015 Retrieved August 26, 2015 from http://www.vnseameo.org/TESOLConference2015/Materials/Fullpaper/Ms.%20Le%20Cao%20Tinh.pdf

Tsitsopoulou, E. (1992). Conversation Classes. In English Teaching Forum. New York: Oxford University Press.

Valette, R. M. (1977). Modern language testing. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

William, E. (1993). Reading in the language classroom. London: McMillian.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29