ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คำสำคัญ:
ความสามารถในการประชาสัมพันธ์, บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากร ด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำแนก ตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานในสถาบันอุดมศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานด้าน ประชาสัมพันธ์ ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ในกอง/ สำนัก/ศูนย์/งาน และในคณะ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 98 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีของ นีย์แมน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเพื่อประเมินความสามารถใน การประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย t-test for Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) โดยกำหนด นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า
(1) บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีความสามารถในการ ประชาสัมพันธ์โดยรวมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 หากพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ด้านภาพ ด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และ ด้านการเผยแพร่และการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในระดับมาก และมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ ด้านข่าวและด้านการพูดในระดับ ปานกลาง
(2) บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ การทำงานในสถาบันอุดมศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ต่างกันมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์โดยรวมและด้านการพูด ด้านภาพ ด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และด้านการเผยแพร่และการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ไม่ แตกต่างกัน สำหรับสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา พบว่า บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ที่มีสาขาวิชาที่สำเร็จ การศึกษาแตกต่างกันมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ด้านข่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่พบว่าแตกต่างกัน
(3) เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับเกณฑ์ พบว่า ความสามารถในการประชาสัมพันธ์โดยรวมไม่แตกต่าง กับเกณฑ์ หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน คือ ด้านข่าว และด้านการพูดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน คือ ด้านภาพและด้านการเผยแพร่และการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่สูงกว่าเกณฑ์ ในขณะที่ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกับเกณฑ์
References
กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2553). วิกฤติ กระบวนทัศน์ มโนทัศน์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กัญญา สิริสกุล. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของนักประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อัดสำเนา
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2542). ความเป็นนักวิชาชีพของนักประชาสัมพันธ์กับบทบาทและลักษณะการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ทิศทางการอุดมศึกษาไทย. สืบค้น 7 มีนาคม 2558, จาก http://www.kriengsak.com/index.php?components=content&id_content_category_main=21&id_content_topic_main=36&id content_management_main=134
จุฑามาศ ลิ้มไพบูลย์. (2542). การศึกษาวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์การตลาดของนักประชาสัมพันธ์องค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชมพูนุท นุตาคม. (2546). สถานภาพ บทบาท และแนวโน้มการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจในยุคสารสนเทศ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
เปรมศิริ นิมิตรมงคล. (2544). การประชาสัมพันธ์มุมมองของมืออาชีพ. วารสารคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนจอห์น, 1(1), 43–47
รุจินันท์ เอื้อพิทักษ์สกุล. (2550). คุณลักษณะของนักประชาสัมพันธ์และปัจจัยที่ในการเลือกรับเข้าทำงานขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (ม.ป.ป.). การอุดมศึกษา. ม.ป.พ.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548. (2548.18 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 6ก. หน้า 17-27.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อค.
สุรีย์พร พันพึ่ง. (2557). ภาวะเจริญพันธ์ขุ องประชาการอาเซียน. วารสารประชากรและการพัฒนา, 34(2), 1-2
อัปษรศรี ปลอดเปลี่ยว. (2543). การประชาสัมพันธ์โรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2541). ทำไมต้องประชาสัมพันธ์สถาบันของเรา. วารสารปาริชาต, 10(2), 34-39
อุทัย ดุลยเกษม. (2556). ยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 105-109.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed). New York: John Wiley & Son.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น