การศึกษาสถาปัตยกรรมธุรกิจอัจฉริยะบนระบบคลาวด์สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ลีลาทวีวุฒิ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ธุรกิจอัจฉริยะ, ระบบคลาวด์, สถาปัตยกรรมระบบ, และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันหลายองค์กรทั้งภาคเอกชนและรัฐของประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งผู้บริหารธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมมีความต้องการข้อมูลเพื่อตอบคำถามด้านธุรกิจ ก่อนการตัดสินใจสำหรับการลงทุนหรือการขยายธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะซึ่งเป็น ชุดของเครื่องมือและเทคนิคในการแปลงรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์และมีความหมาย เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน เช่น การบริหารข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ ความซับซ้อนในการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ งบประมาณการลงทุนที่มีมูลค่าสูง ภาระ ในการดูแลรักษาระบบในระยะยาว ระยะเวลานานในการนำมาใช้งาน และขาดบุคลากรด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ จึงส่งผลให้เกิดแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อให้บริการข้อมูล ธุรกิจอัจฉริยะสำหรับผู้บริหารในการดำเนินธุรกิจในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ก่อให้เกิดการสนับสนุน ตัดสินใจด้านธุรกิจและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการออกแบบสถาปัตยกรรมธุรกิจอัจฉริยะ ระหว่างรูปแบบที่องค์กรเป็นเจ้าของระบบเอง กับองค์กรใช้บริการผ่านผู้ให้บริการระบบคลาวด์ เพื่อ นำเสนอองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมธุรกิจอัจฉริยะด้านโครงสร้างพื้นฐาน แพลทฟอร์ม ซอฟต์แวร์ และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อธุรกิจอัจฉริยะ โดยระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 12 คน และวิเคราะห์ ผลด้านเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมธุรกิจอัจฉริยะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรประยุกต์ใช้การบริการระบบคลาวด์ผ่านผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน แพลทฟอร์ม และซอฟต์แวร์ โดยผู้ใช้บริการชำระค่าบริการตามการใช้งาน นอกจากนี้ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อธุรกิจอัจฉริยะได้แก่ 1) การสร้างขีดความสามารถให้กับผู้ใช้งาน 2) ต้นทุนความเป็นเจ้าของระบบและระยะเวลาในการใช้งาน 3) ความปลอดภัย 4) ความพร้อมของทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) กระบวนการดึงข้อมูล เข้า-การแปลงรูป-การจัดเก็บข้อมูล กล่าวโดยสรุปงานวิจัยนี้สะท้อนความเป็นไปได้ด้านเทคนิคของธุรกิจ อัจฉริยะบนระบบคลาวด์สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). กระทรวงไอซีที เดินหน้า Data Center เร่งดึงต่างชาติย้ายฐานลงทุนเข้าไทย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2558, จาก http://www2.moc.go.th/ewt_news.ph.

เพ็ญศิริ มโนมัยสุพัฒน์. (2557). ธุรกิจอัจฉริยะกับความท้าทายในการพัฒนาเพื่อใช้ในองค์กร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 236-245.

สมเกียรติ ลีลาทวีวุฒิ. (2557). ปัจจัยขับเคลื่อนการใช้ระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจไทยให้ประสบผลสำเร็จ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 119-144.

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). หนังสือระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Adelman, S., Moss, L. & Barbusinski, L. (2002). I found several definition of BI. Retrieved April 1, 2015, from www.dmreview.com.

Al-Aqrabi, H., Liu, L., Hill, R. & Antonopoulos, N. (2012). Taking the Business Intelligence to the Clouds. Proceedings of the 14th IEEE International Conference on High Performance Computing and Communications, Liverpool, 953-958.

Bruque, S. & Moyano, J. (2007). Organizational Determinants of Information Technology Adoption and Implementation in SMEs: The Case of Family and Cooperative Firms. Technovation. 27, 241-253.

Chang, V. (2014). The Business Intelligence as a Service in the Cloud. Future Generation Computer Systems. Retrieved Jun 1, 2015, from http://eprints.leedsbeckett.ac.uk/220/.

Collen, P. (2015). Is TCO still relevant in the cloud? (Electronic Version). CFO forum. Retrieved May 13, 2015, from www.cfo.com/the-cloud/2015/03/tco-still-relevant-cloud/.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3). 319–340.

Eckerson, W.W. (2005). The Keys to Enterprise Business Intelligence: Critical Success Factors. Business Objects. Retrieved April, 1, 2015 from http://download.101com.com/pub/TDWI/Files/TDWI

Ekufu, TG. K. (2012). Predicting Cloud Computing Technology Adoption By Organizations: An Empirical Integration Of Technology Acceptance Model And Theory Of Planned Behavior (Doctoral Dissertation). Minnesota: Capella University.

Low, C., Chen, Y. & Wu, M. (2011). Understanding the determinants of cloud computing adoption. Industrial Management & Data Systems, 111(7), 1006-1023.

Kemper, H. G., & Baars, H. (2006). Business Intelligence and Competitive Intelligence, HMD –Praxis der Wirtschftsinformatik, 247, 7-20.

Nadler, D.A. & Tushman, M.L. (1997). Competing by Design; The power of Organizational Architecture. New York: Oxford University Press.

Paireekreng, W. & Leelataweewut, S. (2015). The Driving Factors for the Implementation of Emerging Cloud Technology in SaaS for Business : A Case Study of Thailand. International Conference on Internet Studies, Tokyo, Japan.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.

Rajan, J. (2009). Business Intelligence: Concepts, Components, Techniques and Benefits. Journal of Theoretical and Applied Information Technology, 9, 60-70.

Reinschmidt, J. & Francoise. (2000). A Business Intelligence Certification Guide, IBM International Technical Support Organization. Retrieved April 1, 2015, from http://www.redbooks.ibm.com/.

Ross, V. W. (2010). Factors Influencing the Adoption of Cloud Computing By Decision Making Managers. (Doctoral dissertation). Minnesota: Capella University.

Sahay, B.S. & Ranjan, J. (2008). Real time business intelligence in supply chain analytics. Emerald, 16(1), 31-32.

Shimba, F. (2010). Cloud Computing: Strategies for Cloud Computing Adoption (Doctoral dissertation). Dublin: Institute of Technology.

Sultan, N. (2010). Cloud computing for education: a new dawn. International Journal of Information Management, 30, 109-116.

Tornatzky, L. & Fleischer, M. (1990). The process of Technology Innovation. Lexington, MA: Lexington Books.

Turban, E., Sharda, R., Delen, D. & King, D. (2007). Business Intelligence, 2nd edition, New Jersey: Prentice Hall.

Weston, R., & Kaviani, S. (2009). Leverage the new infrastructure how market leaders capitalize on Information Technology. Boston: Harvard Business School Press.

Yeoh, W. & Koronios, A. (2010). Critical Success Factors for Business Intelligence System. The journal of Computer Information System, 50(3), 23-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29