การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติภายใต้การดำเนินโครงการสมัชชาคุณธรรม

ผู้แต่ง

  • นิติพล ธาระรูป คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คุณธรรม, แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ, สมัชชาคุณธรรม

บทคัดย่อ

โครงการศึกษาวิจัยการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินโครงการสมัชชาคุณธรรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินกระบวนการและผลสำเร็จการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติของเครือข่ายองค์กรภาคีจำนวน 26 หน่วยงาน 2) เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรม การขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ พ.ศ.2557-2559 จำแนกตามกลุ่มเครือข่าย 7 กลุ่ม และ 3) เพื่อประเมินระดับความคิดเห็นและระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมเวทีสมัชชาคุณธรรมในระดับจังหวัด และระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับประชากรในการวิจัยประกอบด้วย องค์กรภาคีเครือข่าย 26 องค์กร เครือข่าย 7 เครือข่ายตามแผนฯดังกล่าว และผู้เข้าร่วมงานสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัด 12 จังหวัด และระดับภาค 4 ภาค โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบรายงานโครงการ แบบสังเกต สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมสมัชชาคุณธรรม

ผลการวิจัย พบว่า

1) องค์กรภาคี 22 องค์กรได้นำแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยบางองค์กรมีภารกิจหรือแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมเป็นการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร และส่วนใหญ่ มีความสำเร็จตามที่กำหนดไว้ในโครงการ และมีแนวทางการขยายผลโดยเครือข่ายองค์กรภาคีโดย มีกลุ่มเป้าหมายเดิมกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยเน้นไปยังกลุ่มเด็กและเยาวชน แต่องค์กรภาคี 4 องค์กรไม่ สามารถนำแผนฯไปใช้ได้

2) ผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ พ.ศ.2557- 2559 จำแนกตามกลุ่ม เครือข่าย 7 กล่มุ ได้แก่ เครือข่ายการศึกษา เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายศาสนา เครือข่ายชุมชน เครือข่ายธุรกิจ เครือข่ายองค์กรภาครัฐ และเครือข่ายการเมือง พบว่า ทุกเครือข่ายมี กระบวนการการดำเนินงานขับเคลื่อนตามประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาความซื่อตรง

3) ผลการประเมินระดับความคิดเห็นและระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมเวทีสมัชชาคุณธรรม ในระดับจังหวัด และระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการประเมิน ความคิดเห็น ของผู้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัดทั้ง 12 จังหวัดและระดับภาค 4 ภูมิภาคอยู่ในระดับมาก ( X = 3.94 และ 3.86 ตามลำดับ)

กล่าวโดยสรุป การขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ ฉบับทบทวน ปีพ.ศ. 2557-2559 ประจำปีงบประมาณ 2557 ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยพิจารณาจากผลการประเมิน การขับเคลื่อนงานของทั้ง 26 องค์กรภาคี 7 กลุ่มเครือข่าย และการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่จังหวัด และภาคได้นำแผนฯ ไปใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมความซื่อตรง โดยส่วนใหญ่ มีการกำหนดโครงการและแนวทางการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน แต่ยังไม่สามารถ นำแผนฯไปใช้ได้โดยตรงเนื่องจากข้อจำกัดของลักษณะขององค์กรหรือเครือข่ายและงบประมาณ

References

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2554). แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ (ฉบับทบทวน) พ.ศ. 2557-2559. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2555) กระบวนการขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม.

ไพศาล มั่นอก และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม. วารสาร สุทธิปริทัศน์, 28(88), 99-117.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).

Creech, H. (2001). Measuring While You Manage: Planning, Monitoring and Evaluating Knowledge Networks, Version 1.0. Retrieved May 28, 2014, from http://www.iisd.org/pdf/2001/networks_evalutation.pdf

Neuman, R. W. (1991). The Future of the Mass Audience. Cambridge: Cambridge University Press.

Office for the Community and Voluntary Sector, (2002). Manageing funding to Non-government organizations-From principles to practice. Retrieved May 28, 2014, from grant-programmes

Stufflebeam, D.L. (1974). Meta-evaluation (Occasional Paper Series), Paper #3.Kalamazoo: Western Michigan University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29