ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ยอดขวัญ ผดุงมิตร สาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครอง, โครงการโรงเรียนสองภาษา

บทคัดย่อ

บทความงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของ ผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษา ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อ เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจ ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษา ในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ของผู้ปกครองที่มีสภาพส่วนบุคคลต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะและ แนวทางการส่งเสริมการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษา ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 327 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวน 3 ช่วงชั้น ได้แก่ ปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แล้วทำการสุ่มจากทุกกลุ่มออกมาตามสัดส่วน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในขั้นสุ่มจริง และ 2) ผู้บริหารโครงการโรงเรียนสองภาษาใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6 โรงเรียน จำนวน 10 คน เลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) T-test, One-way ANOVA ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ปกครองมีปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านค่านิยม 2) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และ 3) ด้านการจัดครูผู้สอน

2. ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนใน โครงการโรงเรียนสองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ต่างกัน เมื่อจำแนกตามอาชีพและรายได้ของ ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง ปัจจัยการตัดสินใจในแต่ละด้านของผู้ปกครองต่างกัน 3. ปัญหาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียน สองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านค่านิยม ผู้ปกครองและผู้บริหารมี ความคิดเห็นไม่สอดคล้องกัน โดยผู้บริหารระบุว่า ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียน สองภาษาเพื่อรอการสอบเพื่อเข้าไปในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง 2) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ผู้ปกครองและผู้บริหารไม่ระบุถึงปัญหา และ 3) ด้านการจัดครูผู้สอน ความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร สอดคล้องกัน โดยระบุว่าโรงเรียนต้องปรับปรุงคุณภาพครูผู้สอน

4. ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลาน เข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านค่านิยม ผู้ปกครองระบุว่า ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการศึกษาของบุตรหลาน 2) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ผู้ปกครองและผู้บริหารระบุว่า อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ต้องดีในทุกด้าน และผู้ปกครองต้องการให้มีการแยกทรัพยากรของโครงการโรงเรียนสองภาษาออกจาก โรงเรียนภาคปกติ และ 3) ด้านการจัดครูผู้สอน ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนพิจารณาถึงคุณสมบัติของ ครู ได้แก่ ความรับผิดชอบในหน้าที่ และการเอาใจใส่ผู้เรียน

References

กุณฑิกา พัชรชานนท์ และ บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2557). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 116/2557: งานมหกรรมรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา. สืบค้น 6 มิถุนายน 2557, จาก http://www.moe.go.th

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). ข้อเสนอทฤษฎีใหม่ทิศทางการตลาดในทศวรรษหน้า. สืบค้น 6 มิถุนายน 2558, จาก http://www.bangkokbiznews.com/

จุฑามาศ สามดี. (2553). ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑามาศ แสงงาม และ อวยพร เรืองตระกูล. (2556). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหลักสูตรภาษาอังกฤษของโรงเรียนสองภาษาจากตัวแปรคดสรร: การวิเคราะห์ล้อมกรอบข้อมูล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 8 (1) , 557-568

ชญานิศวร์ กุลรันมณีพร และคณะ. (2555). การเสริมสร้างค่านิยม: การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการวิจัยด้านค่านิยมไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

ประมุข ขาวปากช่อง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือแบรนด์ไอโฟนในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัฒนินทร์ สรรพวรสถิตย์. (2552). ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒิชัย เนียมเทศ. (2555). บริหารโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Program) อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 23 (3), 1-16

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2557). แผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2557-2560. ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค

อรสิริ ทัศนาวรากุล. (2554). ค่านิยมการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าสยามพารากอนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ( การศึกษาเฉพาะบุคคลสาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Holloway, S. D., Yamamoto, Y., Suzuki, S., & Mindnich, J. D. (2008). Determinants of Parental Involvement in Early Schooling: Evidence from Japan. Early Childhood Research & Practice, 10 (1), 1-10

Schwartz, S. (2006). Basic Human Values: Theory, Measurement, and Applications. Jerusalem: Israel Science Foundation Grant No. 921/02.

Yaacob, N.A., Osman, M.M., & Bachok, S. (2015). An assessment of factors influencing parents’ decision making when choosing a private school for their children. Procedia Environmental Sciences, 28, 406 – 417

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29