ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิณสุดา สิริธรังศรี วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ระบบ, การสะสมหน่วยการเรียนรู้, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ของประเทศไทยและ ต่างประเทศ 2) เพื่อเสนอระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อ เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีการ วิจัยเชิงบรรยาย ระหว่าง มีนาคม – กันยายน 2558 ด้วยการศึกษาเอกสารทั้งในและต่างประเทศ การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ครั้ง 59 คน จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนา ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการตรวจสอบรายงานวิจัยโดยผู้ทรง คุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและตัวผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยยังไม่มีระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจน ดำเนินการเพียงการเทียบโอนผลการเรียน \ความรู้และประสบการณ์ส่วนต่างประเทศเป็นไปตามบริบทประเทศ ทั้งที่มีระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ และเฉพาะการเทียบโอนความรู้ การรับรองผลการเรียนรู้ และประสบการณ์จากการฝึกอบรมการทำงาน และอาชีพ 2) ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย แนวคิด การจัดให้มีหน่วยงานกลางสะสม การเรียนรู้ การกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานกลางต้นสังกัด สถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เรียน กลุ่มเป้าหมาย หลักเกณฑ์การสะสมหน่วยการเรียนรู้ และกลยุทธ์การดำเนินงาน 3) แนวทางการพัฒนาระบบการสะสม หน่วยการเรียนรู้คือการกำหนดหน่วยงานทำหน้าที่หน่วยงานกลางชั่วคราว การจัดตั้งคณะทำงานเตรียม การจัดระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ การนำร่องการสะสมหน่วยการเรียนรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการสะสมหน่วยการเรียนรู้ทั้งระบบ

References

ฉันทนา จันทร์บรรจง และทักษ์ อุดมรัตน์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ของประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้(Credit Bank System) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศิริพรรณ ชุมนุม. (2558). ระบบการรับรองผลการเรียนรู้เดิม (Recognition of Prior learning – RPL) เครือรัฐออสเตรเลีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมศักดิ์ นาวายุทธ. (2558). ระบบการสะสมหน่วยการและการเทียบโอนผลการเรียนความรู้และประสบการณ์กรณีศึกษาสาธารณรัฐเกาหลี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานการประชุมเรื่อง การกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Bellance& Brandt. (2010).21st Century Skills Rethinking How Students Learn. Retrived May 1, 2015, from http://go.solution-tree.com/21firstcenturyskills.

Brown, A. (1992). Valuing Skills: Recognition of Prior Learning. Melbourne: Victorian Education Foundation.

IMD. (2014). World Competitiveness Yearbook Ranking. Retrived May 1, 2015, from http://www.imd.org/news/2014-WorldCompetitiveness.cfm.

Dyson, C. (2005). Recognition of prior learning policy and practice for skills learned at work: Australia, Canada, New Zealand, South Africa, United States. Retrived May 15, 2015, from https://ideas.repec.org/p/ilo/ilowps/376805.html

The Economist. (2014). Pocket World in Figures 2013 Edition. London: Profile Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29