ปัจจัยที่ส่งผลให้การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนครั้งแรกต่ำกว่ามูลค่าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนครั้งแรกต่ำกว่ามูลค่า, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
ในสภาวะทางเศรษฐกิจทางการเมืองในยุคของการปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 2557- พ.ศ. 2561 เนื่องจากในปี พ.ศ.2557 เป็นปีที่ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการยึดอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ทำให้เกิดนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างมากมาย จนถึงช่วงปี 2561 ที่ประเทศเริ่มมีการกำหนดแผนการเลือกตั้ง รวมทั้งเกิดเหตุการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศมีความผันผวนในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และการตัดสินใจในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งปรากฏการณ์การตั้งราคาหุ้นสามัญเสนอขายแก่ประชาชนครั้งแรกหรือหุ้นไอพีโอในราคาที่ค่อนข้างต่ำเพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถนำหุ้นดังกล่าวมาขาย และเมื่อมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันแรกทำให้ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงมากถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ การเกิด IPO Underpricing นั่นเอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ส่งผลให้การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนครั้งแรกต่ำกว่ามูลค่าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่าง ปี พ.ศ. 2557- พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบริษัททั้งหมด 74 บริษัท โดยศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นกลไกภายใน 6 ปัจจัย และกลไกภายนอก 6 ปัจจัย ที่อาจจะส่งผลให้เกิดราคาเสนอขายสูงกว่าราคาจองซื้อในวันแรก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบให้การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนครั้งแรกต่ำกว่ามูลค่า (IPO Underpricing) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ ที่ปรึกษาทางการเงิน วิธีการกำหนดราคาหุ้นสามัญ และจำนวนผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นกลไกภายนอกของบริษัทที่ถือว่ามีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลแก่มุมมองของนักลงทุนที่จะตัดสินใจในลงทุนซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว
References
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). https://www.sec.or.th
Beatty, R. P. (1989). Auditor reputation and the pricing of initial public offerings. Accounting Review, 693-709.
Beneish, M. D. (1999). The detection of earnings manipulation. Financial Analysts Journal, 55(5), 24-36.
Bowers, H. M., & Miller, R. E. (1990). Choice of investment banker and shareholders’ wealth of firms involved in acquisitions. Financial Management, 34-44.
Brennan, M. J., & Hughes, P. J. (1991). Stock prices and the supply of information. The Journal of Finance, 46(5), 1665-1691.
Brown, P. R., Ferguson, A., & Lam, P. (2010). Choice between alternative routes to go public, Working paper, SSRN.
Carter, R., & Manaster, S. (1990). Initial public offerings and underwriter reputation. The Journal of Finance, 45(4), 1045-1067.
Faccio, M., R. W., Masulis, & J. J., McConnell. (2006). Political connections and corporate bailouts. Journal of Finance, 61, 2597-2635.
Goldman, E., Rocholl, J., & So, J. (2009). Do politically connected boards affect firm value?. Review of Financial Studies, 22, 2331-2359.
Golubov, A., Petmezas, D., & Travlos, N. G. (2012). When it pays to pay your investment banker: New evidence on the role of financial advisors in M&As. The Journal of Finance, 67(1), 271-311.
Hasan, T., Hadad, M., & Gorener, R. (2013). Value relevance of accounting information and IPO performance in Indonesia. Accounting and Finance Research, 2(1), 90.
Jovanovic, Boyan, & Szentes, Balàzs. (2007). IPO underpricing: Auctions vs. book building. NYU and the University of Chicago, 12-13.
Keown, A. J., Martin, J. D., Pretty, J. William, & Scott, David F. (2005). Financial management: Principles and applications. International Edition, New Jersey: Prentice Hall.
Leland, Hayne E., & Pyle, David. (1977). Informational asymmetries, financial structure, and financial intermediation. Journal of Finance, 32(2), 371-387.
Margheim, L. (1986). Further evidence on external auditors reliance on internal auditors. Journal of Accounting Research, 24(2), 194-205.
Ritter, Jay R. (1991). The long-run performance of initial public offerings. Journal of Finance, 46(1), 3-27.
Rock, K. (1986). Why new issues are underpriced. Journal of Financial Economics, 15(1-2), 187-212.
Yuan, G. S., Graves, C., & H. H., Ali. (2013). Effect of board composition and ownership characteristics on fraud: Evidence from Malaysian Listed Companies. South East Asia Research, 21(2), 323-342.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น