การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ไทยประเภทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
การจัดการโลจิสติกส์, เกณฑ์มาตรฐานธุรกิจโลจิสติกส์, ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ไทยประเภทผู้รับจัดการสินค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการขึ้นจากสภาพปัญหาปัจจุบันคือยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ไทย สำหรับผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานของผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวรูปแบบการวิจัยได้ดำเนินการเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยและเครื่องมือการวิจัยต่างๆ ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์การวิเคราะห์องค์ประกอบการสนทนากลุ่มเฉพาะและ การใช้แบบสอบถาม ผลของการวิจัยได้นำเสนอเกณฑ์มาตรฐานฯ ใหม่ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐาน 9 ด้าน ได้แก่1) วิสัยทัศน์และการวางแผนการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ 2) การจัดการกระบวนการ 3) การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์ 4) ลูกค้าและการตลาด 5) การร่วมมือกับคู่ค้าในโซ่อุปทาน 6) นวัตกรรมและเทคโนโลยี 7) ความปลอดภัยและความมั่นคง 8) การประเมินผล 9) ผลการปฏิบัติงานโดยมีตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 42 ตัวชี้วัดสำหรับเกณฑ์ทั้ง 9 ด้านดังกล่าวผลของการนำเกณฑ์มาตรฐานฯ ดังกล่าวไปประเมินสภาพ การดำเนินงานของผู้ประกอบการ จำนวน 140 บริษัทพบว่าผลการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้านและอยู่ในระดับต่ำ 3 ด้าน ได้แก่1) นวัตกรรมและเทคโนโลยี 2) ความปลอดภัยและความมั่นคงและ 3) ผลการปฏิบัติงานซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ยังได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรสำหรับปรับปรุงผลการปฏิบัติในระดับต่ำเพื่อให้องค์กรมีแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2556). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ปี 2556. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์มาตรฐาน ISO. จดหมายข่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2 กุมภาพันธ์ 2559.
ชนนิกานต์ รุจีหิรัญญปกฤต. (2554). การรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ สุวรรณเกิด. (2555). ปัจจัยองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันทำโลจิสติกส์ในกลุ่มบริษัท MIB Holding (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง.
ธนิต โสรัตน์. (2550). การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: ประชุมทองพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
ประวิต เอราวรรณ์. (2557). การวิจัยเชิงคุณภาพ. (Qualitative Research) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชญดา ดอนสมจิตร, ธนัญญา วสุศร, จิรชัย พุทธกุลสมศิร, ปภัศร ชัยวัฒน, และทวีศักดิ์ กฤษเจริญ. (2556). การวัดคุณภาพบริการของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ประเทศกัมพูชาเปรียบเทียบกับประเทศไทยด้วยเครื่องมือวัดคุณภาพ SERVQUAL วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,(16), ไม่ปรากฎเลขหน้า.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2557). การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
วรพจน์ มีถม.(2554). การออกแบบระบบการตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างไทยกับเวียดนาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2561). รางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award: TQA กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Devault, G. (2017). What Is a Market Research Focus Group?. Retrieved September 26, 2017, from https://www.thebalance.com/what-is-a-market-research-focus-group-2296907
International Standard Organization. (2018). Explanation of the International Standards Organization. International Organization for Standardization. Retrieved January 01, 2018, from https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/archive/pdf/en/pub100343.pdf
Islam, D. M. Z., and Zunder, T. H. (2014). The necessity for a new quality standard for freight transport and logistics in Europe. European Transport Research Review 2014, 6(4), 397-410.
Monishankar, P. and Garcia, C. (2017). How to Conduct a Successful Focus Group Discussion. Retrieved September 11, 2017, from https://blog.socialcops.com/academy/resources/ conduct-successful-focus-group-discussion/
Sumantri, Y., and Lau, S. K. (2011). The current status of logistics performance drivers in Indonesia: an emphasis on potential contributions of logistics service providers (LSPs). Progress in Business Innovation and Technology Management, 1(1), 34-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น