การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • มยุรี โยธาวุธ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ระบบประปาหมู่บ้าน, จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศีกษากระบวนการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของจังหวัด นครนายก 2) ศึกษาผลลัพธ์ของการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของประเทศไทยในช่วงเวลาต่างๆ ที่ผ่านมา 3) เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำวิจัยมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนา นโยบายระบบการบริหารจัดการประปาหมู่บ้านของประเทศไทยให้ดีและมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้ กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) พร้อมทั้ง มีการศึกษาเอกสารงานวิจัย ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการประชุมสัมมนาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศจากผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านกระบวนการบริหารจัดการระบบประปา หมู่บ้าน สองชุมชนตัวอย่างคือ บ้านบางคะยอ และบ้านโพธิ์งามมีกระบวนการบริหารจัดการประปา หมู่บ้านอย่างเป็นระบบโดยมีความพร้อมทั้งด้านกำลังคน ได้รับเงินสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่เป็น พื้นฐานในการบำรุงรักษา ซ่อมแซมระบบประปาจากส่วนกลางของภาครัฐบาล และมีกระบวนการบริหาร จัดการในรูปแบบคณะกรรมการประปาหมู่บ้าน 2) ด้านผลลัพธ์ของการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้าน มีการถ่ายโอนและกระจายอำนาจจากส่วนราชการมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการเลือกตั้งคณะ กรรมการประปาหมู่บ้าน และผลการถ่ายโอนอำนาจทำให้การดำเนินการบริหารจัดการระบบประปา หมู่บ้านมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงปฏิบัติการ และเชิงวิชาการ

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2546). สืบค้น 10 สิงหาคม 2558, จาก http://www.slideshare.net/thaint/ss-40232183

กอบชัย ฉิมกุล. (2556). มูลค่าเชิงสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เวิลดิ์เพลส.

กองประปาชนบทกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2544). คู่มือผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้านผิวดินขนาดใหญ่. กรุงเทพฯ: กองประปาชนบท.

เชษฐพันธุ์ กาฬแก้ว (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบประปาหมู่บ้านผิวดินกรมอนามัย. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมวัฒน์ อินทจักร. (2557). สืบค้น 10 สิงหาคม 2558 จาก: http://www.slideshare.net/thaint/ss-402321183

ประพันธ์ อ่ำสกุล.(2558). เทคนิคการประปา. พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ: บึงกุ่ม.

สุฟ้า บัณฑกุล. (2540). โครงการศึกษาคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านและความพึงพอใจของประชาชนในการใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.ลำปาง.

Chapman, J. (2003). Public value: the missing ingredient in reform. London: The Adaptive State, Demos.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis, Massachusetts Institute of Technology. Cambridge: MA.

Heymann, P. (1987). The Politics of Public Management. Yale University Press, New Haven: CT.

Massupa Chawiangwas and UraiwanInmoung. (2013). Water Supply Treatment Plant and Water Quality in Wangtong Sub-district, Nawang District, NongBua Lam Phu Province. KKU Journal for Public Health Research, 6 (1), pp.49-60.

Moore, M. H. (1995). Creating Public Value – Strategic Management in Government. Harvard University Press, Cambridge: MA.

Moore, M.H. (2000). Managing for value: organizational strategy in for-profit, non-profit, and governmental organizations. Non-profit and Voluntary Sector Quarterly, 29(1), pp. 183-204.

Roberts, A. (1995). Civic discovery’ as a rhetorical strategy. Journal of Policy Analysis and Management. 14 (20), pp. 291-307.

Try, D., & Radnor, Z. (2007). Developing an understanding of results-based management through public value theory. International Journal of Public Sector Management, 20 (7), pp.656-673.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11