ลักษณะของการรายงานเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ: ดุลยพินิจในการเขียนเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีในกลุ่มสำนักงานบัญชี BIG 4

ผู้แต่ง

  • ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ

คำสำคัญ:

เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ศึกษาปัญหาการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 2) ศึกษารูปแบบและเทคนิคการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 2) ศึกษาแนวโน้มของการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ 4) ศึกษาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กลุ่มตัวอย่างคือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสำนักสอบบัญชี ระดับประเทศ 4 สำนักงาน หรือ Big Four จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจความตรงของข้อคำถามและคำนวณค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาร์คเท่ากับ 0.92 การเก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามจำนวน 150 ฉบับได้รับตอบกลับมา จำนวน 119 คน (ร้อยละ 79.3) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คือ ความยากในการใช้ดุลพินิจ จำนวนร้อยละ 40.3 รองลงมาคือ ปัญหาเรื่องความเสี่ยง จำนวนร้อยละ 15.1 มีความไม่แน่ชัดในการประมาณการ จำนวนร้อยละ 8.4 2) เทคนิคและรูปแบบการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นำหัวข้อเรื่อง KAM คู่กับระบุว่าได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอย่างไร จำนวนร้อยละ 54.6 รองลงมาคือ ใช้วิธีบรรยายวิธีการตรวจสอบเรื่อง KAM อย่างไร จำนวนร้อยละ 32.8 ใช้วิธีทำตารางการตรวจสอบเรื่อง KAM ในแต่ละเรื่องจำนวนร้อยละ 5.0 3) แนวโน้มของการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พบว่า ผู้สอบบัญชีพิจารณาเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดประเด็นใหม่ แล้วจึงเขียน KAM เรื่องใหม่ จำนวนร้อยละ 34.5 รองลงมาเป็น เขียนเหมือนปีก่อนๆ (2559) จำนวนร้อยละ 26.1 ยังตัดสินใจไม่ได้ จำนวนร้อยละ 12.6 อาจศึกษาแนวโน้มจากต่างประเทศ เพิ่มเติม จำนวนร้อยละ 7.6 4) ศึกษาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเขียน KAM ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในแง่ของผู้สอบบัญชีพบว่า ทำให้ผู้สอบบัญชีมีความเชื่อมั่นในการแสดงความคิดเห็น จำนวนร้อยละ 56.3 รองลงมาคือ ทำให้ผู้สอบบัญชีได้ช่วยบริษัทเสนอข้อแก้ไขเกี่ยวกับการควบคุมภายใน จำนวนร้อยละ 12.6 ทำให้ผู้สอบบัญชีรู้สึกว่าได้ลดความเสี่ยงจากการสอบบัญชีลง จำนวนร้อยละ 10.9

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). สรุปแบบสอบถามเกี่ยวกับการนำรายงานของผู้สอบ สืบค้น 3 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.fap.or.th/upload/9414/KSd51qQDyH.pdf

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). เรื่องสำคัญในการตรวจสอบในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีกับการตอบสนองของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(38), 22.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 700 เรื่องการแสดงความเห็นและการรายงานต่องบการเงิน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 701 เรื่องการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

สภาวิชาชีพบัญชี, (2561). เรื่องสำคัญในการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

สมพงศ์ อุปถัมภ์ และธัญลักษณ์ วิจิตรสาระวงศ์. (2557). ร่างรายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่: ความท้าทายของผู้สอบบัญชีและผู้ใช้รายงาน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 36-54.

สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์, (2559). เอกสารภาษีอากร เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ (Key Audit Matters:KAM). วารสารธรรมนิติ. 35(421),102-109

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12