การลดความขุ่นของน้ำโดยการใช้สารเคมีร่วมกับการปลูกบัวสาย กรณีศึกษา: แหล่งน้ำปิดในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คำสำคัญ:
ความขุ่นของน้ำ, สารส้มน้ำ, ปูนขาว, บัวสายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการลดความขุ่นของน้ำ โดยการใช้สารเคมีร่วมกับการปลูกบัวสาย กรณีศึกษา: แหล่งน้ำปิดในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณสมบัติของน้ำในแหล่งน้ำปิดและ 2) เพื่อศึกษาความสามารถของสารเคมีและการปลูกบัวสายในการลดความขุ่นของน้ำ 2 แหล่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดลองจากแหล่งน้ำบริเวณศาลาธรรมธัช และบริเวณศูนย์วัฒนธรรม วิเคราะห์ผลโดยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วัดคุณสมบัติของแหล่งน้ำ ประกอบด้วย ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความขุ่นของน้ำ ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่าอุณหภูมิช่วงเวลา 09.00 น. และค่าอุณหภูมิช่วงเวลา 15.00 น. โดยใช้สถิติเปรียบเทียบค่าด้วยวิธีการ (one-way repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัติของแหล่งน้ำปิดทั้ง 2 แหล่ง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความขุ่นของน้ำ ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่าอุณหภูมิอย่างไรก็ตามคุณสมบัติของน้ำทั้งสองแหล่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สัตว์น้ำสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 2) ความสามารถของสารเคมีและการปลูกบัวสายเพื่อลดความขุ่นของน้ำ พบว่า การปลูกบัวสายสามารถลดความขุ่นของน้ำได้ดีกว่าการใช้สายเคมีเพียงอย่างเดียว ผลการวิจัยนี้จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการลดความขุ่นของแหล่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น
References
กรมประมง. (2545). เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรสัตว์น้ำจืด: เกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: กรมประมง.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2559). บัวสาย. สืบค้น 10 มีนาคม 2559, จาก http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
ณรงค์ วุทธเสถียร. (2543). หนังสือการปรับสภาพน้ำสำหรับอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ไตรรงค์ ปิมปา. (2548). ญี่ปุ่น ใช้ผักบุ้งไทย ดูแลความสะอาดของแหล่งน้ำ. สืบค้น 12 มีนาคม 2559, จาก http://202.129.59.73/japan/wtreat/index.htm
บุษราภรณ์ ชูทับทิม, และนุชนารถ สุภัตรา. (2551). การลดความขุ่นของน้ำที่เกิดจากตะกอนดินกระจายตัวในแหล่งน้ำแบบยั่งยืน. การลดความขุ่นของน้ำในสระโดยการใช้สารเคมีร่วมกับการปลูกพืชน้ำ. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน.
ภาสพล ธรรมตันติหิรัญ, และกัลยา บุญเผือก. (2549). การแก้ปัญหาน้ำเนื่องจากอนุภาคคอลลอยด์ที่มีชีวิตโดยใช้สารเคมี. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน.
มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์, และไพพรรณ พระประภา. (2544). การจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รพีพรรณ ยงยอด, และวรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์. (2550). การลดความขุ่นในน้ำโดยใช้ผงกระดองปูดำ (Scylla olivacea) เป็นสารช่วยสร้างตะกอนร่วมกับสารส้ม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(3), 98-106.
โรงเรียนชลบุรีสุขบท. (2543). การศึกษาพืชน้ำในท้องถิ่นที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณออกซิเจนและการจับตะกอนในน้ำ. ชลบุรี: โรงเรียนชลบุรีสุขบท.
ลัดดา วงศ์รัตน์. (2542). แพลงก์ตอนพืช. กรุงเทพฯ: คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรารัตน์ ลี้ไพบูลย์. (2540). วันพืชน้ำกับการควบคุม. กรุงเทพฯ: บริษัทกรีนสตาร์ไปโอเคมีสท์ จำกัด.
สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอนุรักษ์วิทยาคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพัฒน์พงษ์ มัตราช, และวัลยา วิริยเสนกุล. (2550). การปรับปรุงการรวมตะกอนสำหรับระบบการผลิตน้ำประปาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 12 มีนาคม 2559, จาก http://rir.nrct.go.th/drupal-ir/?q=node/82821
Avnimelech, Y., Lacher, M., Raveh, A., & Zur, O. (1981). A method for the evaluation of conditions in a fish pond sediment. Aquaculture, 23(1), 361-365.
Boyd, C. E. (1990). Water quality in ponds for agriculture. Albama: Bermingham Publishing
Brook, A. J. (1981). The Biology of Desmids. Oxford: Blackwell Scientific Publications.
Olguin, E. J., Y. Ronos and E. Hernandez. (1998). Removed the Cadmium, Lead and Cromium by Salvinia sp.. Instutute of Ecology. Dept. Environmental Biotech. Vancouver. Canada. 10 p.
Reid, G. K. (1961). Ecology of Inland Water Estuaries. New York: Chapman and Hall. Water Action Volunteers. (2003). Turbidity: A water clarity measure. Water action volunteers-volunteer stream monitoring factsheet Series. Madison, WI: University of Wisconsins in spring.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น