การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ปกครอง สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านการเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินผลการใช้ระบบพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 763 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนประถมศึกษาที่นำระบบไปใช้ จำนวน 1 โรง โดยใช้เทคนิคการเลือกแบบ เจาะจง กลุ่มเป้าหมายคือ ครู จำนวน 11 คน นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลระบบ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบทดสอบการอ่านการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า ระบบพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ อยู่ใน ระดับมากที่สุด ผลการประเมินการใช้ระบบพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา ดังนี้ 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อน การอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ระบบพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) นักเรียนมีความสามารถ ด้านการอ่านออกเขียนได้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กองพล เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.

ชูชาติ แก้วนอก. (2557). การพัฒนาระบบการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (วิทยานิพนธ์ กศ.ด.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปิร์ตเน็ท.

ณัฐพงศ์ ทับสุลิ. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหาร และ พัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ด่นศักดิ์ หอมหวน. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ธารพรรษ สัตยารักษ์. (2548). หลักการและมุมมองจากมืออาชีพ (HUMAN RESOURCE MANAGEMENT). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎี บัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษาและเรียนรู้). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2558). สพฐ. พลิกโฉมโรงเรียนมุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้. เดลินิวส์. 16 มิถุนายน 2558. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.dailynews.co.th/education/328476

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2557). ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์. ข่าวประกันคุณภาพ การศึกษา, ฉบับที่ 307 มีนาคม 2557. สืบค้น 2 กันยายน 2559, จาก www.qa.kmutnb.ac.th

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. สืบค้น 9 สิงหาคม 2559, จาก http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/03/Final-Paper.pdf

ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี โสมประยูร. (2554). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และ เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). องค์ประกอบด้านพื้นที่การเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู บริบทโรงเรียนในประเทศไทยมีแนวทางการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัฒนะ บุญจับ. (2541). ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ประชุมวิชาการตลาดนัดความดีสู่การ พัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล 86 พรรษา: ปาฐกถาพิเศษ: PLC สู่สถานบริการและชุมชน. 2 ธันวาคม 2556 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศรีฐาน สุขะวงศ์. (2554). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริรัตน์ จำแนกสาร. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้การอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาปี 2549 – 2551. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สนิท ฉิมเล็ก. (2540). พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: ฝ่ายเอกสารตำราสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.

สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สมบัติ นพรัก, สำราญ มีแจ้ง, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, อมรรัตน์ วัฒนาธร, และชำนาญ ปาณาวงษ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานใน โรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21952

สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบประเมินผลภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). เปิด 6 อุปสรรคในการทำงานของครูไทย. สืบค้น 20 สิงหาคม 2559, จาก http://www.qlf.or.th/Home/Contents/571

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถและทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. สืบค้น 5 สิงหาคม 2559. จาก http://www.yst1.go.th/forum.php?mod=viewthread&tid=779

อาทิตยา ปัญญา. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2547). กลยุทธ์หมัดเด็ดพิชิตใจลูกน้อง. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

Bishop, I. T. (1997). Staff Development and Instructional Improvement: Plan and Procedure. Boston: Allen and Bacon.

Bittel, L. R. (1978). Encyclopedia of Profession Management. New York: McGraw-Hill.

Bryce N. (2011). Meeting the Reading Challenges of Science Textbooks in the Primary Grades. Retrieved October 8, 2015, from http://www.reading.org/publications/index.html

Bryk, A., Camburn, E., & Louise, K. S . (1999). Professional Learning in Chicago Elementary School: Facilitating Factors and Organizational Consequences. Educational Administration Quarterly, 35, 751-781.

Darling-Hammond, L., & Rothman, R. (2011). Teacher and Leader Effectiveness in High Performing Education Systems. Washington, DC: Stanford Center for Opportunity Policy in Education.

Edwards, P. (1985). Systems Analysis, Design and Development: With Structured Concepts. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of inquiry and improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Kenoyer, F. E. (2012). Case study of professional learning community characteristics in an Egyptian private school. (Dotorate’s Degree). USA: Columbia International University.

Lewis, M., & Andrews, D. (2004). Building sustainable futures: Emerging understandings of the significant contribution of the professional learning community. Improving Schools.

Smith, W. A. (1978). System concept, total encyclopedia of professional management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12