รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสำคัญ:
งานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา, การบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการ, SIPOC Modelบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขอบข่ายของงานวิชาการและองค์ประกอบของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ 2) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด การวิจัยมี 2 ขั้นตอนคือ 1) สังเคราะห์ขอบข่ายงานวิชาการและองค์ประกอบของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ 2) เสนอรูปแบบการบริหารความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึก การสนทนากลุ่มและแบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (DescriptiveAnalysis) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ขอบข่ายงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่ขอบข่ายงานวิชาการ 7 ด้านและองค์ประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยง 5 องค์ประกอบและ 2) รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเสนอรูปแบบการดำเนินการเชิงระบบตาม SIPOC Model ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านผู้ส่งมอบปัจจัย (Supplier: นำเข้า S) 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input: I) 3. ด้านกระบวนการทำงาน (Process: P) 4. ด้านผลผลิต (Output: O) และ 5. ด้านผู้รับบริการ (Customer: C)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของ.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญเลิศ คณาธนสาร. (2559). แนวคิด SIPOC Model. สืบค้น 3 มกราคม 2559. จาก http://oknation.nationtv.tv.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร (2554). (พิมพ์ครั้งที่. 1). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
_________. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม: อภิชาติ การพิมพ์.
ไพโรจน์ ขาวสิทธิวงษ์. (2560). การวิเคราะห์กระบวนการทำงานด้วย SIPOC คณะวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชนีย์ สีหะวงษ์. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มเครือข่ายวังสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต1. งานนิพนธ์ (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฺBurke, E. (2000). Project Management Planning and Control. (3 rd ed.) Cape Town: Management Press.
Hussein, A. Hassan Al-Tamimi. (2007). Banks’ Risk Management: a Comparison Study of UAE National and Foreign Banks, The Journal of Risk Finance. 8(4): 256-289.
Zio, E. (2006). An Introduction to The Basics of Reliability and Risk Analysis. London: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น