การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณ: กรณีศึกษา ชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณของ ประชาชนชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานคร2)เพื่อเปรียบเทียบการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อ วัยเกษียณของประชาชนชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาคือ ประชาชนชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานคร จำนวน 372 คน และวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ประชาชนชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานครมีการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อ วัยเกษียณในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของ การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณ คือ ด้านการกำหนดเป้าหมาย รองลงมา คือด้านการจัด สร้างแผนด้านการรวบรวมข้อมูลด้านการติดตามผลและปรับปรุงแผน และด้านการดำเนินการตามแผน ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนชุมชนการเคหะท่าทราย กรุงเทพมหานครที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณในภาพ รวมแตกต่างกัน
References
กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ:กรุงเทพธุรกิจ บิสบุ๊ก.
การเคหะแห่งชาติ. (2558). ประวัติความเป็นมา. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.nha.co.th/view/1/
กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข. (2556). เงินทองต้องใส่ใจ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ชุมชนหมู่บ้านเจริญสุข 4. (2552). ชุมชนการเคหะท่าทราย. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.charoensuk4.com/รายชื่อชุมชนใน-กทม/ชุมชนเคหะชุมชนท่าทราย/
ณภัสนันท์ นิธีเจริญพงษ์. (2558). การศึกษาการเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อเกษียณอายุของผู้มีรายได้ประจำในอำเภอเมืองขอนแก่น.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น. การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2558. (หน้า 290-291). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). วางแผนเกษียณ. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_5.pdf
ทรายทอง เลิศเปียง. (2557). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ. ลำปาง: วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.
ธาดา วิมลวัตรเมธี. (2543). การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ. งานวิจัยทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
รพี สุจริตกุล. (2559). ก.ล.ต.ชี้คนเกษียณกว่า 50% มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้เดือนละไม่ถึง 4,000 บาท. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.matichon.co.th/news/271960
รสลิน วิทย์วงษ์กังวาฬ. (2550). ปัจจัยทางชีวสังคม สุขภาพจิต และความเข้มแข็งในการมองโลกกับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุทำงานของข้าราชการก่อนเกษียณสังกัดกรมชลประทาน. (สารนิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาพัฒนาการบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
วันชัย แก้วสุมาลี. (2552). ความเชื่อทัศนคติและพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุทำงานของบุคคลทางานวัยผู้ใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาพัฒนาการบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์กีฬาเยาวชนหลักสี่. (2559). ข้อมูลสถิติของการเข้าใช้บริการศูนย์กีฬาเยาวชนหลักสี่ กรุงเทพมหานครปี 2559. รายงานข้อมูลประจำปีศูนย์กีฬาเยาวชนหลักสี่ กรุงเทพมหานคร.
ศิรินุช อินละคร. (2548). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมจิตร์ วิริยานนท์. (2558). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. บทความวิจัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. ปีที่ 27(94), 2.
สมฤดี ธัมกิตติคุณ. (2550). การเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุทำงานของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (สารนิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาพัฒนาการบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Gitman, Lawrence J., Morrison, David S., Joehnk. Michael D. (2007). Personal Financial Planning, Australia: Thomson.
Cheng, Louis, (2006). Fundamentals of Financial Planning, Mcgraw – Hill Education ASIA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น