การศึกษาพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้ในงานสปาไทยของกลุ่ม อสม อาสาสมัครชุมชน: ตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภัทรลภา บุตรดาเลิศ

คำสำคัญ:

สมุนไพร, กลุ่มอาสาสมัครชุมชน (อสม.)

บทคัดย่อ

กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) ตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 85 คน กำหนดสุ่มตัวแทน 70 คน โดยใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามวิธีการของทาโร ยามาเน่ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ 1) เพื่อศึกษา (ปัจจัยนำ) ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และทัศนคติต่อการใช้พืชสมุนไพร 2) เพื่อศึกษา (ปัจจัยเอื้อ) พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันและแหล่งสมุนไพรที่นำมาใช้ได้สะดวก 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันและแหล่งสมุนไพรที่นำมาใช้ได้สะดวก 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรที่มีต่อพฤติกรรม การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันและแหล่งสมุนไพรที่นำมาใช้ได้สะดวก

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุ 20-40 ปี อีกทั้งยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม/ปศุสัตว์/ประมง และมีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องสมุนไพร ปานกลาง ทั้งนี้มีสาเหตุการเลือกใช้สมุนไพรเป็นการตระหนักถึงประโยชน์ และมีความเชื่อในสรรพคุณของสมุนไพรมาก ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 จากกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพร ทั้ง 6 ด้านคือ 1 ด้านประสบการณ์การใช้สมุนไพร 2 ด้าน รูปแบบในการใช้สมุนไพร 3 ด้านการใช้สมุนไพรต่อเดือน 4 ด้านบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการใช้ 5 ด้านแหล่ง ที่มาของสมุนไพร และ 6 ด้านแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรไม่แตกต่างกัน และผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และทัศนคติต่อการใช้พืชสมุนไพรที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน ทั้ง 6 ด้านของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

คณะแพทย์ศาสตร์. (2529). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของชาวชนบท และบุคลากร สาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข. (2534). มิติทางสังคมวัฒนธรรมของการใช้สมุนไพรในชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านสุขเกษม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. นครปฐม: วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข): ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

พูนสุข ช่วยทอง วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ สุนันท์ ศลโกสุม และ สุกิจ ไชยชมภู. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในเขต 11 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์ 2555; 7, 60-74.

ยุทธนา ทองบุญเกื้อ. (2551). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในวนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสววค์. นครสวรรค์: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพันธ์.

โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย). (2552). โอกาศของเครื่องสำอางจากธรรมชาติ และสมุนไพร. สืบค้น 12 มีนาคม 2560, จาก http://www.jsppharma.com/business-development

ลือชัย ศรีเงินยวง และปรีชา อุปโยคิน. (2533). พหุลักษณ์ ของระบบการแพทย์ในภาคกลางและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

วัฒนา นิลทะราช. (2540). คติความเชื่อและวิธีการเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยสมุนไพรของชาวบ้านสวาทตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ยะลา: วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ (ไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์): วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา.

ศูนย์ข้อมูล SMEs Knowlege Center. (2557). ความหมายของสปาและนวดเพื่อสุขภาพ. ศูนย์ข้อมูล SMEs Knowlege Center, สืบค้น 8 เมษายน 2560, จาก http://www.sme.go.th/upload/mod_download/02-

อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างหมอสมุนไพร กับความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชสมุนไพรใน จังหวัดกาญจนบุรี. ยะลา: วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชนบท): วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา.

องค์การบริหารส่วนตำบลถนนโพธิ์. (2551). องค์การบริหารส่วนตำบลถนนโพธิ์. สืบค้น 12 มีนาคม 2560, จาก: http://www.tanonpho.go.th/index.php?mod=blog&path=blog&id_sub=95

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15