เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์
คำสำคัญ:
เนื้อหาและรูปแบบการสื่อสาร, อินโฟกราฟิกบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง “เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิกบนเฟชบุ๊กแฟนเพจอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า เนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์ ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ 1) การสอนวิธีการ (How to) เพื่อเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากต้องการให้ผู้รับสารเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีการพัฒนาตนเอง 2) การรายงานข่าวหรือประเด็น สถานการณ์เป็นการเผยแพร่เนื้อหาที่อยู่ในความสนใจของผู้รับสารในขณะนั้น และ 3) การเปรียบเทียบเป็นเนื้อหาที่ทำให้สามารถเห็นความแตกต่างของข้อมูลได้อย่างชัดเจน รูปแบบการนำเสนอส่วนใหญ่เป็น 1) แบบภาพนิ่ง มีรูปแบบที่ง่ายที่สุดต่อการเผยแพร่ข้อมูลและง่ายต่อการรับรู้ของผู้รับสาร 2) แบบคลิก ได้ที่สามารถดูข้อมูลเชิงลึกด้วยการคลิ๊กลิงค์ไปยังเว็บไซต์ และ 3) แบบวีดิโอที่มีทั้งภาพและเสียง ลักษณะของการสื่อสารเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายทำให้ผู้รับสารสามารถรับรู้ความหมายของภาพได้ทันที
References
ณิชมน หิรัญพฤกษ์. (2558). Basic Infographic. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.
ธรรมรัตน์ เจริญพงศ์. (2558). Infographic คืออะไร. สืบค้น 15 ตุลาคม 2559, จาก http://www.slideshare.net/YuiNawaporn/infographic-54911959.
นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณีศึกษาโครงการ“รู้สู้ flood”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยะฉัตร พรหมมา. (2556). การเปิดรับข่าวสาร ความผูกพัน และการตอบสนองผู้บริโภคต่อการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัทน์ ภัทรนุธาพร. (2556). ว่าด้วยอินโฟกราฟิกการสื่อสารข้อมูลผ่านกราฟฟิก. สืบค้น 15 ตุลาคม 2559, จาก http://www.slideshare.net/patpataranutaporn/infographic-23318901.
วรรณพร กลิ่นบัว. (2553). การสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่าน www.facebook.com ของกลุ่มวัยทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2555). อินโฟกราฟิกที่ดี (1): ข้อมูลคือหัวใจ. สืบค้น 28 ตุลาคม 2559, จาก http://thaipublica.org/2012/09/good-infographics-1/.
อินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. (2559). เฟซบุ๊กอินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2559, จาก www.facebook.com/infographic.thailand.
อรรถชัย วรจรัสรังสี. (2556). ประเภทเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี พิเชษฐพันธ์และกาญจนา แก้วเทพ. (2555). การสื่อสารความหมายของภาพและภาวะสมัยใหม่ในงานโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 30(3), 51.
Kai, W. (2013). Infographics & data visualizations. Hong Kong: Design Media.
Krum, R. (2014). Cool infographics effective communication with data visualization and design. Indiana: John Wiley & Sons.
Lankow, J., Ritchie, J. & Crooks, R. (2012). Infographics The Power of Visual Storytelling. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons.
Rouse, M. (2014). facebook. Retrieved 2 November 2017, from http://whatis.techtarget.com/definition/Facebook.
Smiciklas, M. (2012). The Power of Infographics: Using Pictures to Communicate and Connect With Your Audiences (Que Biz-Tech). New York: Que Publishing.
Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Retrieved 2 November 2017, from http://www.ipu.org/PDF/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น