การศึกษาคุณลักษณะเชิงลึกและปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดตาก
คำสำคัญ:
คุณลักษณะเชิงลึกเด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะเชิงลึกของเด็กและเยาวชนนอกระบบ การศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษา ผู้วิจัย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนที่ออกนอกระบบการศึกษากลางคันใน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 38 คน และตัวแทนครอบครัว ตัวแทนชุมชนของเด็กและเยาวชนนอกระบบ การศึกษาจังหวัดตากผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านคุณลักษณะเชิงลึกของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา พบว่า กล่มุ เป้าหมายส่วนใหญ่ บิดามารดาอยู่ร่วมกัน แต่ขาดการสื่อสารในครอบครัว นอกจากนี้ระดับการศึกษาของสมาชิกภายใน ครอบครัววิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของคนในชุมชนยังส่งผลต่อการเลือกตัดสินใจศึกษาต่อและ การเลือกประกอบอาชีพของกลุ่มเป้าหมายปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายทุกคนแต่งงานมีครอบครัว และทำงาน ด้านการศึกษาต่อในอนาคต กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะไม่กลับไปศึกษาต่อ แต่หากต้องการศึกษาต่อจะ เลือกศึกษาที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษา พบว่า แบ่งออกเป็นสองปัจจัย คือ ปัจจัยจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อการศึกษา การปรับตัว การแต่งงาน เป็นต้น และ ปัจจัยจากครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทัศนคติของบิดามารดาที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย สภาพ เศรษฐกิจของครอบครัว ความยากลำบากในการเดินทาง เป็นต้น
References
โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 127-141.
จิราพร ชมพิกุล, ปราณี สุทธิสุคนธ์, เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, และดุษณี ดำมี. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชิสาพัชร์ โกสีย์รัตนาภิบาล. (2555). การศึกษาปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนบ้านจันทเขลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธงชาติ สอนคำ. (2554). ศึกษาปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนบ้านกล้อทอสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ธนาภา สุรรัตน์.(2555). สาเหตุที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พิมพ์ วาสนา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะเสี่ยงการออกกลางคันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงรายเขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภุมริน บุญทวี. (2548). ปัจจัยทางครอบครัวและพฤติกรรมทางสังคมที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษาโรงเรียนอาชีวะเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. (2548). การศึกษาสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ปีการศึกษา 2544-2546 (รายงานผลการวิจัย). นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
สรรค์ชัย กิติยานันท์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกลางคันของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1. (2559). ข้อมูลนักเรียนออกกลางคันภาพรวมจังหวัดตาก. สืบค้น 2 กันยายน 2559, จาก http://www.takesa1.tak1.org/main56/note/htm/student/student.htm.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิงข์ จีนพงษ์. (2553). การออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนสามัคคีพัฒนา อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุปราณี เทศนาเรียง, สุภกร หาญสูงเนิน, และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2557). รูปแบบการลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับพิเศษ), 41-53. สืบค้น 11 มิถุนายน 2560, จาก https://edu.msu.ac.th/ncer/fullpaper/paper/N4.pdf
สุภาภรณ์ ปินะกาโน.(2553). การออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bridgeland, M. J.,Dilulio, J. J., & Morison, B. K. (2006). The Silent Epidemic: Perspective of High School Dropouts. Retrieved July 2, 2017, from: https://docs.gatesfoundation.org/documents/thesilentepidemic3-06final.pdf
Bronfenbrenner, U. (1994, March). Ecological Model of Human Development. International Encyclopedia of Education, 3(2), 37-43.
Bronfenbrenner, U. (2005). Making Human Beings Human: Bioecological Perspectives on Human Development. Thousand Oaks : Sage Publication.
Santrock, J. W. (2011). Life-span development (13th ed). New York: McGraw-Hil
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น