วิเคราะห์การคุ้มครองทางสังคมของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สมพร โกมารทัต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิริพร สัจจานันท์
  • เสน่ห์ เดชะวงศ์

คำสำคัญ:

การคุ้มครองทางสังคม, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ความยากจนในประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะปัจจุบันของการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย และวิเคราะห์ช่องว่างการวิจัยและช่องว่างการคุ้มครองทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติตามเป้าประสงค์ที่ 1.3 ของเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน ผลการศึกษา พบว่า

1. การคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการประกันซึ่งแบ่งออกเป็นการประกัน สังคม และ การประกันสุขภาพ การคุ้มครองแรงงาน การประชาสงเคราะห์ และการบริการสังคมอื่นๆ ประชากรไทยร้อยละ 21.27 ของประชากรทั้งประเทศ (67.2 ล้านคน) ได้รับการคุ้มครองทางสังคมโดย การประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา39รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 7,671 ล้านบาท ในการเสริม สร้างสวัสดิการสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีได้รับ การคุ้มครองและบริการสวัสดิการตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

2. ผลการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสภาพปัจจุบันของไทยกับเป้าประสงค์ 1.3 และตัวชี้วัด 1.3.1 ขององค์การสหประชาชาติพบว่า มีการคุ้มครองทางสังคมของกลุ่มเด็ก กลุ่มแรงงานกรณีเจ็บป่วย กรณี ทุพพลภาพ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มคนยากจนและเปราะบางตามเป้าประสงค์และตัวชี้วัด แต่ในกลุ่มหญิง มีครรภ์ที่เป็นแรงงานนอกระบบยังไม่มีมาตรการคุ้มครอง และผู้สูงอายุที่ไม่ทำงาน แม้ว่ารัฐบาลจะจัดสรร เบี้ยยังชีพให้จำนวนหนึ่ง แต่ก็ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มเบี้ยยังชีพหรือมี มาตราการอื่นที่เหมาะสม

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2559). แผนปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). การบรรยายเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทยเพื่อความมั่งคงและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2549). รายงานการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การประเมินการคุ้มครองทางสังคมในระดับองค์การและสถาบันของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานประกันสังคม. (2559). สถิติงานประกันสังคม 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนกุมภาพันธ์ 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.

องค์การแรงงานระหว่างประเทศและคณะทำงานร่วมขององค์การสหประชาชาติในประเทศไทย. (2556). การประเมินการคุ้มครองทางสังคมจากการปรึกษาหารือระดับชาติเพื่อก้าวสู่ฐานการคุ้มครองทางสังคมภายใต้บริบทประเทศไทย.กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

Browne, E. (2015). UK: GSDRC, University of Birmingham.

Devereux, S. & Sabates-Wheeler, R. (2004). Transformative Social Protection. Brighton: IDS.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15