การประเมินความต้องการจำเป็นของครูด้านการสร้างแบบทดสอบ
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็น, การสร้างแบบทดสอบ, ตารางวิเคราะห์แบบทดสอบบทคัดย่อ
การประเมินความต้องการจำเป็นของครูด้านการสร้างแบบทดสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดและจัดลำดับความต้องการจำเป็นของครูด้านการสร้างแบบทดสอบ และ 2) วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดความต้องการจำเป็นของครูด้านการสร้างแบบทดสอบ ขั้นระบุความต้องการจำเป็นเก็บข้อมูลจากครูระดับมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 25 คน โดยใช้แบบบันทึกการพิจารณาความต้องการจำเป็นของครูในด้านการสร้างแบบทดสอบ แล้วคำนวณหาสัดส่วนและร้อยละของแต่ละด้าน ขั้นวิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็นเก็บข้อมูลจากกลุ่มครูระดับมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 63 คน โดยใช้แบบสอบถาม แล้วจัดเรียงลำดับตามค่ามัธยฐานสำหรับมาตรแบบกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านตัวเลือกมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านระดับพฤติกรรมและด้านข้อคำถามตามลำดับ 2) การวิเคราะห์สาเหตุของความต้องการจำเป็นของครูในการสร้างแบบทดสอบ พบว่า สาเหตุด้านระยะเวลาในการสร้างแบบสอบมากที่สุด รองลงมาคือ สาเหตุด้านการไม่สร้างตารางวิเคราะห์แบบทดสอบ (test blueprint) และขาดประสบการณ์ในการสร้างข้อสอบเพื่อวัดพฤติกรรมในระดับสูง ตามลำดับ
References
ณิชิรา ชาติกุล. (2552). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2548). การวัดและการประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2553). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตุ๊ จงรักษ์. (2543). กระบวนการการวัดและประเมินผลการเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ สวัสดิ์ประดิษฐ์. (2528). กระบวนการและปัญหาในการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครู ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพย์วัลย์ ใจทหาร. (2538). ปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิไล หาญทวีวงศา. (2529). ปัญหาการสร้างข้อสอบวัดความสามารถทางพุทธพิสัยวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามการรับรู้ของครูวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พินดา วราสุนันท์. (2554). การพัฒนาศักยภาพทางการประเมินในด้านการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาโดยใช้เครือข่ายมิตรวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช วรรณรัตน์. (2535). ปัญหาการวัดและการประเมินผล: ครูผู้สอน. วารสารการวัดผลการศึกษา,14(39), 5-11.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงษ์ เพชรหมื่นไวย. (2540). ปัญหาการสร้างข้อสอบของครูพลศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรยุทธ สืบแสงอินทร์. (2529). การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Burton, S. J., Sudweeks, R. R., Merrill, P. F., and Wood, B. (1991). How to Prepare Better Multiple-choice Test Items: Guideline for University Faculty. Boston: Houghton Mifflin.
Russell, M. K., and Airasian, P. W. (2011). Classroom Assessment: Concepts and Applications. Dubue, lA: McGraw-Hill.
Krathwohl, D. R. (2002). A Revision of Bloom’s Taxonomy: An Overview. Theory into Practice, 41, 212-218.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น