ผลของโปรแกรมกลุ่มการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกสเปคตรัม อายุ 6-9 ปี

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย แพงคำฮัก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุพัทธ แสนแจ่มใส ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ออทิสติกสเปคตรัม, ทักษะทางสังคม, โมเดลการบำบัดรักษาโดยใช้การเล่นเป็นฐาน, การละเล่นพื้นบ้านไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมกลุ่ม การละเล่นพื้นบ้านไทยและศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกสเปคตรัม อายุ 6-9 ปี ในด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษาในการสื่อสาร และพฤติกรรมทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมการวิจัยคือเด็กออทิสติกสเปคตรัมที่มีปัญหาทักษะทางสังคมในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 8 คน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมกลุ่มการละเล่นพื้นบ้านไทย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และได้รับการทดสอบทักษะทางสังคมก่อน และหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยแบบวัดทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนทักษะทางสังคม คือ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมกลุ่มการละเล่นพื้นบ้านไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากแนวคิดทฤษฏีและผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ และเมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า เด็กออทิสติกสเปคตรัมมีค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมรายด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิสัมพันธ์ทาง สังคม ด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร และด้านพฤติกรรมทางสังคม และคะแนนโดยรวมสูงขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโปรแกรมกลุ่มการละเล่นพื้นบ้านไทยมีประสิทธิภาพที่จะนำ ไปใช้ในการพัฒนาทักษะทางสังคม และมีความสะดวกต่อการนำไปใช้เนื่องจากเป็นกิจกรรมการละเล่นที่มี ความคุ้นเคยในวิถีชีวิตของคนไทย และสามารถนำไปใช้ได้หลายบริบททั้งโรงเรียน ชุมชน และในเชิงคลินิก

References

จักรี อย่าเสียสัตย์. (2557). ผลของการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2556). ออทิสติก. สืบค้น 20 มกราคม 2560, จาก http://www.happyhomeclinic.com/academy/au02-autism.pdf

นิชรา เรืองดารกานนท์. (2551). เด็กออทิสติก-เด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พลับลิชชิ่ง.

บุญเรือน ดวงศรีแก้ว, และบัญญัติ ชำนาญกิจ. (2558). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. รายงานสืบเนืองจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. วันที่ 23 กรกฎาคม 2558. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พัชรี จิ๋วพัฒนกุล. (2549). การพัฒนาแบบฝึกเพื่อเสริมทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

วนิษา เรซ. (2553). เล่นให้เป็นอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

เสาวณีย์ ลอยอุดมโชค. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

อัจจิมา ศิริพิบูลย์ผล. (2552). ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยออทิสติกที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นแบบร่วม (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Aarons, M., & Gittens, T. (1999). The handbook of autism: A guide for parents and professionals. London: Biddles.

Cordier, R., Bundy, A., Hocking, C., & Einfeld, S. (2009). A model for play-based intervention for children with ADHD. Australian Occupational Therapy Journal, 56, 332-340.

Henning, B., Cordier, R., Wilkes-Gillan, & Falkmer, T. (2016). A pilot play-based intervention to improve the social play interactions of children with autism spectrum disorder and their typically developing playmates. Australian Occupational Therapy Journal, 63, 223-232.

Jordan, R. (2000). Autistic spectrum disorder: An introductory handbook for practitioners. London: David fulton publisher.

Koegel, L. R., & Koegel, L. K. (1995). Teaching children with autism: Strategies for initiating positive interactions and improving learning opportunities. USA: Paul H. Bookes Publishing.

Tomus, R. M. (2000). Comparing theories of child development (5th ed.). CA: Wadswoeth.

Zager, B.D. (1999). Autism: Identification, education and treatment. USA: Lawrence Erlbaum Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-16