อภิธานศัพท์ยาสมุนไพรในสมุดจีนของจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
อภิธานศัพท์, ยาสมุนไพร, สมุดจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวม และวิเคราะห์คำศัพท์ยาสมุนไพรในสมุดจีน เพื่อจัดทำเป็น อภิธานศัพท์ ยาสมุนไพร โดยเก็บข้อมูลคำศัพท์จากสมุดจีนที่จัดเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระทอง จังหวัด ภูเก็ต จำนวน 2 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบันทึกยาสมุนไพรในสมุดจีนมีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ รูปแบบและ อักขรวิธีการเขียนที่ไม่เคร่งครัดระเบียบแบบแผน เพราะเขียนตามการออกเสียงภาษาไทยถิ่นใต้ บางคำ เขียนตามการออกเสียงของชาวภูเก็ต และการใช้คำที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต พื้นฐานวัฒนธรรมของชาวใต้ และคำที่มีลักษณะเฉพาะของการบันทึกตำรายา 2) มีคำศัพท์ยาสมุนไพร จำนวน 484 คำ 1,023 รูปเขียน ได้แก่ พืชวัตถุ จำนวน 420 คำ 912 รูปเขียน สัตว์วัตถุ จำนวน 33 คำ 50 รูปเขียน และธาตุวัตถุ จำนวน 31 คำ 61 รูปเขียน
คำศัพท์ทั้งหมดจะนำเสนอในรูปแบบอภิธานศัพท์เพื่ออธิบายความหมาย คำอ่าน รูปแบบการ ใช้และขนานยา และสาระสำคัญเพิ่มเติม เพื่อเป็นการบันทึกภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น สำหรับผู้สนใจ จะได้ศึกษา สืบทอด หรือนำไปปรับใช้ให้เกิดคุณค่าต่อไป
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์ และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คำนวณ นวลสนอง และคณะ. (2527). ภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
คุณช่วย ปิยะวิทย์. (2532). ภาษาและคติความเชื่อในตำรายาพื้นบ้านจากวัดบิง ตำบลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
จรัญ ทองวิไล. (2547). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมภาคใต้เรื่องสินนุราชคำกาพย์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, และวิเชียร จีรวงส์. (2558). คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ณชลกร แสงแก้ว. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบคำเรียกชื่อสมุนไพรภาคใต้จากหนังสือบุดกับภาษาไทยมาตรฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2559). วรรณกรรมและภาษาถิ่นใต้. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2540). การแพทย์แผนไทย สายใยแห่งชีวิต และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2531). พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
วิทยา บุษบงค์. (2559). ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านหนังสือบุดภาคใต้ของนายหิ้น โชติอัมมร. วารสารใบลานมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 1(1), 42. สืบค้น 5 มิถุนายน 2561, จาก http://bljou.com/index.php/bailan/index
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเวชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุดารัตน์ ตัณฑะอาริยะ. (2548). การวิเคราะห์ตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดพังงา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุษา ช่วยบำรุง. (2550). ศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ (ปริญญานพินธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอมอร ตรีชั้น. (2528). การศึกษาด้านภาษาและคติความเชื่อในตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น